รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบล

ผู้แต่ง

  • ธนวรรณ ทองอ่อน ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สงวน อินทร์รักษ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหาร, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, เทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบล 2) รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบล 3) ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบล  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เทศบาลตำบลที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในสังกัด จำนวน 2,176 แห่ง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณการขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่น 90% ได้ตัวอย่างจำนวน 95 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 3 คน คือ ปลัดเทศบาล จำนวน 1 คน ผู้อำนวยการกองการศึกษา จำนวน 1 คน และผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็นและแบบสอบถามเพื่อยืนยัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ การวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัยพบว่า

                1) การบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบลมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งมี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1) การวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  1.2) การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และ 1.3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (2) การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม (3) การปฏิบัติตนของครู/ผู้ดูแลเด็ก  (4) บทบาทผู้นำของนายกเทศมนตรี (5) การวางแผนอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม  และ (6) การประกันคุณภาพ [1]

               2) รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบล พบว่า เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของ 6 องค์ประกอบ โดยบทบาทผู้นำของนายกเทศมนตรี มีอิทธิพลโดยตรงต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม การปฏิบัติตนของครู/ผู้ดูแลเด็ก  การวางแผนอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม และมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อการประกันคุณภาพ ส่วนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม การปฏิบัติตนของครู/ผู้ดูแลเด็ก  การวางแผนอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลโดยตรงต่อการประกันคุณภาพ 3) ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของเทศบาลตำบล ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

 

[1]นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

References

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2019