การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ 3
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อทราบ 1) การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ 3 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ 3 ประชากร ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณธรรม ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร 2) ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม 3) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 กลุ่มสาระ จำนวน 3 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ การวางแผนงานคุณธรรม สร้างกลไกการลงมือปฏิบัติงาน กำหนดการติดตามนิเทศงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนคุณธรรม ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายบ้านโป่งที่ 3 ประกอบด้วยแนวทางดังนี้ 1) ด้านการวางแผนงานคุณธรรมโดยร่วมดำเนินการ SWOT analysis และให้ความสำคัญกับทุกความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการประชุมระดมสมองใช้เป็นแนวทางในการวางแผนงานคุณธรรม 2) ด้านสร้างกลไกการลงมือปฏิบัติงานโดยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียน ปฏิบัติตนตามแนวทางของคุณธรรมเป้าหมายและพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวก และร่วมกำหนดเกณฑ์การประเมิน ใช้เป็น แนวปฏิบัติอย่างมีทิศทาง 3) ด้านการกำหนดการติดตามนิเทศงานโดยให้คำแนะนำอย่างเป็นกัลยาณมิตร และแนะนำ ส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและกิจกรรมมาใช้ในการพัฒนางานคุณธรรมของโรงเรียน 4) ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยกำหนดตัวชี้วัดภาพความสำเร็จในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ส่งเสริมองค์ความรู้ให้แก่ครูเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรม และส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน