การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

วรรณวิษา จีนไฝ
สายสุดา เตียเจริญ

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครปฐมจำนวน 24 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือผู้ปฏิบัติราชการแทน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระ รวม 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามคู่มือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และประสิทธิผลของโรงเรียนตามแนวคิดของฮอยและมิสเกล (Hoy and Miskel) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้าน คือ การคัดเลือกหนังสือแบบเรียนเพื่อใช้ในโรงเรียน และอยู่ในระดับมากจำนวน 16 ด้าน โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน การพัฒนากระบวนการเรียนรู การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน การวางแผนงานด้านวิชาการ การนิเทศการศึกษา การพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็นการพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น การแนะแนว การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับโรงเรียนและองค์กรอื่น การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานสถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และการพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ


            2) ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยดังนี้ อัตราการออกกลางคันของนักเรียน คุณภาพโดยทั่วไป ความพึงพอใจในการทำงาน การขาดงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามลำดับ


            3) การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในลักษณะคล้อยตามกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-