พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การตัดสินใจบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาตำแหน่งหน้าที่ในสถานศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดโรงเรียน และอำเภอ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 45 โรง โดยวิธีการจับคู่ (matching case) แล้วเปิดตารางประมาณกลุ่มตัวอย่างของเครซี่มอร์แกน (Krejie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง 15 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา/รองผู้อำนวยการสถานศึกษา / ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการ / หัวหน้าฝ่ายบริหาร จำนวน 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 1 คน และครู จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 135 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารตามแนวคิดของแทนเนนบอม และชมิดท์ (Tannenbaum and Schmidt) จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ภาพรวมและ รายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อพฤติกรรมตัดสินใจของผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ในสถานศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ขนาดโรงเรียน และอำเภอ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน