ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ของแบรนด์และประสิทธิผลของโรงเรียนที่มีอัตรา การแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปฐมพงษ์ เอื้ออวยพร ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ของแบรนด์, ประสิทธิผลของโรงเรียน, โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ระดับอัตลักษณ์ของแบรนด์ของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างอัตลักษณ์ของแบรนด์และประสิทธิผลของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 54 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารโรงเรียนละ 2 คน และฝ่ายปฏิบัติการสอนโรงเรียนละ 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 216 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ  อัตลักษณ์ของแบรนด์ ตามแนวคิดของเอิร์ด (Urde) และความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน ตามแนวคิดของแชนนอนและไบล์สมา (Shannon and Bylsma) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

       ผลการวิจัยพบว่า

  1. อัตลักษณ์ของแบรนด์ของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านวิสัยทัศน์และพันธกิจ ด้านสมรรถนะขององค์กร ด้านบุคลิกภาพขององค์กร
    ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านการแสดงออกขององค์กร ด้านความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับบุคคลภายนอก
    ด้านการนำเสนอคุณค่า ด้านคำมั่นสัญญาและค่านิยมหลักขององค์กร และด้านตำแหน่งในการแข่งขันขององค์กร ตามลำดับ
  2. ประสิทธิผลของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้านการมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันของบุคลากรภายในโรงเรียน ด้านการได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี ด้านการตั้งมาตรฐานและความคาดหวังในตัวผู้เรียนในระดับสูง ด้านความร่วมมือและการประสานงานกันอย่างมีศักยภาพด้านหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลที่มีมาตรฐาน ด้านการให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การติดตามผลการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ และด้านภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ตามลำดับ
  3. อัตลักษณ์ของแบรนด์และประสิทธิผลของโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง โดยมีลักษณะความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2019