ผลการใช้สื่อการสอนในหัวข้อการบูรณะฟันชนิดอุดฝังและอุดครอบในรายวิชาการบูรณะฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้องด้วยฟันเทียมติดแน่น 2 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คำสำคัญ:
Dental Student, Inlay and Onlay, Instruction Mediaบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้สื่อการสอนในหัวข้อการบูรณะฟันชนิดอุดฝังและอุดครอบในรายวิชาการบูรณะฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้องด้วยฟันเทียมติดแน่น 2 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การวิจัยทำโดยเก็บรวบรวมข้อมูลคะแนนย้อนหลังเป็นเวลา 6 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2556-2558 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการใช้สื่อการสอน (เอกสารคำสอนและแผ่นภาพเลื่อน) และตั้งแต่ปีการศึกษา 2559-2561 ซึ่งเป็นช่วงหลังการใช้สื่อการสอน (เพิ่มแบบจำลองพลาสติก และวีดิทัศน์) ในหัวข้อการบูรณะฟันชนิดอุดฝังและอุดครอบ
ในรายวิชาการบูรณะฟันและอวัยวะที่เกี่ยวข้องด้วยฟันเทียมติดแน่น 2 สำหรับนักศึกษาทันตแพทย์ชั้นปีที่ 4 คณะทันตแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แล้วนำคะแนนมาเฉลี่ยเป็นคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้สื่อการสอน นำข้อมูลคะแนนเฉลี่ยที่ได้ทั้งก่อนและหลังการใช้สื่อการสอนมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติการทดสอบทีที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้สื่อมีค่าน้อยกว่าหลังการใช้สื่อการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
References
ทิศนา แขมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
นิภา กิมสูงเนิน, สุวรีย์ เพชรแต่ง. (2559) ผลการใช้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลมหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพยาบาลสภาการชาดไทย 9: 63-74.
ปณภา ภิรมย์นาค. การใช้สื่อการสอน เชิงมัลติมีเดีย เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษารายวิชา LSC303/LSM211 การจัดการขนส่ง สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. คณะบริหารธุรกิจ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557.
ปรัชญาการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ [Internet]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; c2019 [cited 3 September 2019]. Available from https://www.psu.ac.th/th/node/8716
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร, 2544.
วันฤดี สุขสงวน. (2556) ประสิทธิผลของสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชาการบัญชีบริหาร คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ 8: 227-41.
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561. เข้าถึงเมื่อ 3 กันยายน 2562. เข้าถึงได้จากhttps://www.dent.psu.ac.th/unit/student/images/pdf/44.pdf.
Kantikosum K ,Tanthanuch S, Boonlert K. (2018) Applying coaching and mentoring for educational potential developing of undergraduate dental students, Prince of Songkla University. Songklanakarin Dental Journal 6: 29-37.