การบริหารจัดการการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ธำรงค์ สมาธิ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สถาพร ขันโต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ดำรงค์ เบญจคีรี สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระปริยัติสารเวที สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุนทรา จันทร์โต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษา, การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

       เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ อาจารย์ประจำหลักสูตร และนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

       การวิจัยพบว่า

  1. สภาพการบริหารจัดการการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 1) ด้านเจ้าหน้าที่ให้บริการ มีภาระงานเป็นจำนวนมาก และขาดความชำนาญในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ขาดเจ้าหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือและแนะนำในวันเสาร์และอาทิตย์ 2) ด้านการเรียนการสอน ขาดเอกสารประกอบการสอน ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาที่มาใช้บริการต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ตเป็นต้น 3) ด้านกระบวนการ/การดำเนินงาน เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน ข้อบังคับ ประกาศ กฎระเบียบของมหาวิทยาลัย 4) ด้านอาคารสถานที่ของบัณฑิตวิทยาลัย ไม่มีห้องรับประทานอาหาร ห้องสมุด และห้องประชุม ประจำสาขาวิชา
  2. แนวทางการบริหารจัดการการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 1)ด้านเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการ บัณฑิตวิทยาลัยควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ จัดอบรม หรือฝึกฝนความสามารถของเจ้าหน้าที่ ให้สอดคล้องกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย จัดภาระงานให้มีความสมดุลระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน และควรมีเจ้าหน้าที่ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา 2)ด้านการเรียนการสอน อาจารย์สอนในวิชาต่างๆ ควรมีหลายท่าน เพื่อความหลากหลาย ควรมีเอกสารประกอบการสอน มีสื่อการสอน และมีเจ้าหน้าที่ให้ความสะดวกแก่อาจารย์ เช่นการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น 3)ด้านกระบวนการ/การดำเนินงานของบัณฑิตวิทยาลัย ควรมีระบบการติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ และควรจัดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษามาปฏิบัติงานในวันเสาร์/อาทิตย์ 4)ด้านอาคารสถานที่ ควรมีห้องรับประทานอาหาร ห้องสมุด ห้องประชุม มีระบบอินเตอร์เนตที่เชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

 

References

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/31/2019