การเปรียบเทียบทัศนคติของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ชัญญา สุนทรชัชเวช ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • สมบัติ เดชบำรุง ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • ลัดดาวัลย์ คงสมบูรณ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, การเปรียบเทียบทัศนคติ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติของครูที่มีต่อการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร  3) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติของครูกับบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) มัชฌิมเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย independent  t-test

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับทัศนคติของครูเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมาคือด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน และต่ำสุดคือด้านการกระจายอำนาจ 2) ระดับทัศนคติของบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ  โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน พบว่าด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการคืนอำนาจการจัดการศึกษาให้ประชาชน  และต่ำสุดคือด้านการบริหารตนเอง  3) เปรียบเทียบทัศนคติของครูกับบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารตนเอง และด้านการตรวจสอบและถ่วงดุล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019