ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์ รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Main Article Content

สุริยา กิจลิขิต
พิชญาภา ยืนยาว
นภาภรณ์ ยอดสิน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล และ 3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนที่ผ่านการประเมินการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 327 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหา-ระหว่าง 0.67 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 1  ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ 0.99 และตอนที่ 2 ด้านการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การกำหนด ทิศทางการเปลี่ยนแปลง การนิเทศและการประเมินผลปฏิบัติการสอน การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน และการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

  2. การดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล อยู่ในระดับมาก
    ทั้งภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ การนำองค์กร กลยุทธ์ นักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวัด วิเคราะห์
    การจัดการความรู้ บุคลากร การปฏิบัติการ และผลลัพธ์

  3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ (X6)
    การบริหารหลักสูตรการเรียนการสอน (X5) การนิเทศและการประเมินผลปฏิบัติการสอน (X4) การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (X2) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล-(Ytot)-โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
    ที่ระดับ .01 สมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y ̂_tot  = 0.32+ 0.34 (X6) + 0.28 (X5) + 0.15 (X4) + 0.15 (X2)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-