การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

วันดี ชูชี่น
มัทนา วังถนอมศักดิ์
ประเสริฐ อินทร์รักษ์
นพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบ 1) ลักษณะวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต และ 2) องค์ความรู้จากการสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นการวิจัยประเภทวิจัยเชิงบรรยาย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร  โดยใช้วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตเป็นหน่วยวิเคราะห์  ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ วิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550-2558 จำนวน 188 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบบันทึกข้อมูลวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ประเด็นบริหารการศึกษาตามยุทธศาสตร์แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


               ผลการวิจัย


  1. ลักษณะวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต เป็นการวิจัยประเภทเชิงพรรณนา แผนแบบการวิจัยที่ใช้มากที่สุดได้แก่ The one-shot, non-experimental case study ประชากรส่วนใหญ่มาจากหน่วยงาน/สถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้เทคนิควิธี Stratified random sampling เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยวิธีตรวจสอบความตรงร่วมกับความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ใช้สถิติบรรยาย และสถิติวิเคราะห์พหุตัวแปรหลายวิธี อาทิ Factor analysis และ Path analysis การยืนยันรูปแบบ/ผลการศึกษาองค์ประกอบของวิทยานิพนธ์  ใช้วิธีการยืนยันรูปแบบอย่างหลากหลายทั้งการยืนยันด้วยสถิติ และการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ อาทิ Ethnographic Future Research (EFR), Ethnographic Delphi Future Research (EDFR), Connoisseurship และแบบสอบถาม

  1. องค์ความรู้จากการสังเคราะห์เนื้อหาวิทยานิพนธ์ พบว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ข้อ ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-