พจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่เขตการศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิศิทธิ์ แพงศรีนิธิศ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • นพดล เจนอักษร ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

พจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน, ผู้บริหารการศึกษา

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ที่ใช้แผนแบบการวิจัยกลุ่มตัวอย่างเดียวศึกษาสภาวการณ์ ไม่มีการทดลองประเภทการศึกษาเอกสารและวิเคราะห์เอกสาร  มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อทราบพจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2. เพื่อทราบผลการยืนยันพจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้บริหารการศึกษาตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 5 คน มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับตัวชี้วัด ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์เอกสารแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับพจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขั้นที่ 3 ยืนยันพจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ แบบประเมินพจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

        ผลการวิจัย พบว่า

  1. พจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีทั้งหมด 4 ด้าน จำนวน 29 ตัวชี้วัด คือ 1) ด้านการบริหารและการจัดการ จำนวน 14 ตัวชี้วัด 2) ด้านวินัยและการรักษาวินัย จำนวน 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านคุณธรรม จริยธรรม จำนวน 5 ตัวชี้วัด และ 4) ด้านมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ จำนวน 5 ตัวชี้วัด
  2. พจนานุกรมตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019