การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา

Main Article Content

ชยานันต์ คงทรัพย์
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการศึกษาของราชอาณาจักรไทย  2) การบริหารจัดการศึกษาของราชอาณาจักรกัมพูชา 3) เปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ในประเด็นต่อไปนี้ ด้านโครงสร้างบริหารจัดการศึกษา ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารบุคลากร และด้านการบริหารทั่วไป แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากรทางการศึกษาของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง


               ผลการวิจัย 1) การบริหารจัดการศึกษาของราชอาณาจักรไทย ด้านโครงสร้างบริหารจัดการศึกษา มีการแบ่งระดับ    การบริหารออกเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค/จังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ด้านการบริหารวิชาการ มีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรสองภาษาผู้บริหารโรงเรียนต้องรับผิดชอบหลักการบริหารงานด้านวิชาการ คือ หลักแห่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้านการบริหารงบประมาณ มีระเบียบการจัดระบบจัดซื้อจัดจ้างดูแลจากหน่วยงานต้นสังกัด ด้านการบริหารบุคลากร การสรรหาและบรรจุแต่งตั้งมีการสอบจากส่วนกลางและจังหวัด ยึดหลักธรรมาภิบาล มีการกำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ มีการสร้างขวัญกำลังใจ และดำเนินการทางวินัยและลงโทษอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม  ด้านการบริหารทั่วไป การวางแผนการศึกษามีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมวางแผนพัฒนา มีการจัดระบบบริหารองค์กร ส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยการ ความสะดวกต่าง ๆ ในการให้บริการการศึกษา ผ่านโรงเรียน เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  2) การบริหารจัดการศึกษาของราชอาณาจักรกัมพูชา  ด้านโครงสร้างบริหารจัดการศึกษา การพัฒนาระบบการศึกษา จะถูกควบคุมโดยรัฐ  ผ่านกระทรวงศึกษาธิการ เยาวชน และกีฬา ในระดับชาติและกรมสามัญศึกษาในระดับจังหวัด อำเภอ ด้านการบริหารวิชาการ มีการใช้หลักสูตรแกนกลางของชาติ ผู้บริหารโรงเรียนต้องรับนโยบายการบริหารวิชาการจัดการเรียนการสอนตามรัฐกำหนดให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดำเนินการจัดการศึกษาสัปดาห์ละ 6 วัน คือ วันจันทร์ ถึงวันเสาร์ หยุดวันเดียว วันอาทิตย์ และเรียนวันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง โดยจะเรียน ครึ่งวัน คือ เรียนช่วงเช้า หรือช่วงบ่าย มีการป้องกันระบบรับประกันเพื่อพัฒนาคุณภาพศึกษา ด้านการบริหารงบประมาณ  มีการจัดงบประมาณการบริหารปีการศึกษาละ 1-ครั้ง และจ่ายโดยคณะกรรมการตามแผนการพัฒนา ด้านการบริหารบุคลากร ผู้อำนวยการการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนไม่มีการสอบมาจากการคัดเลือก สำหรับครูจะมีการสอบคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพครู จะต้องเรียนวิชาชีพครูมาตั้งแต่เริ่มต้น และต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู มีการเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าตอบแทนตามคุณวุฒิ ด้านการบริหารทั่วไป รับนโยบายและแนวปฏิบัติในเรื่องการวางแผนการศึกษา การพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานต้องปฏิบัติตามกระทรวงศึกษาธิการเยาวชนกีฬาเท่านั้น ยกเว้นสิ่งอำนวยความสะดวก การซ่อมแซม จะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา 3)-ผลการเปรียบเทียบการบริหารจัดการศึกษาของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา พบว่า ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการศึกษานั้น มีความคล้ายคลึงกันในด้านโครงสร้างการบริหารตามลำดับขั้นตอน ด้านการบริหารวิชาการ มีความแตกต่างกันในเรื่องการจัดทำหลักสูตรการศึกษาสถานศึกษามีเอกภาพในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา แต่ราชอาณาจักรกัมพูชาใช้หลักสูตรแกนกลางของชาติจากหน่วยงานต้นสังกัดกำหนดได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ด้านการบริหารงบประมาณ มีความแตกต่างกันในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ             การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการบริหารงานบุคลากร มีความแตกต่างที่วิธีการสรรหาบรรจุแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าตอบแทน ด้านการบริหารทั่วไป มีความแตกต่างในด้านการซ่อมบำรุง การวางแผนการศึกษาโดยจะปฏิบัติตามกระทรวงศึกษาเยาวชนและกีฬาเท่านั้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-