สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์)

Main Article Content

สานิตา แดนโพธิ์
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) และ 2) แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และ ครู รวมทั้งสิ้น 34 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. สมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สมรรถนะหลักในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน สูงที่สุด มี 1 ด้าน คือ จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และอยู่ในระดับสูง 4 ด้าน โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ ดังนี้ การทำงานเป็นทีม การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน  การบริการที่ดี และการพัฒนาตนเอง สมรรถนะประจำสายงานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับสูงทุกด้าน เรียงตามลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ การบริหารจัดการชั้นเรียน  การพัฒนาผู้เรียน  ภาวะผู้นำครู  การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน                                                                  

  2. แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะครูโรงเรียนวัดไผ่ล้อม (พูลประชาอุปถัมภ์) ได้มาทั้งหมด 49 แนวทาง แบ่งออกเป็น สมรรถนะหลัก 20 แนวทาง คือ 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน มี 3 แนวทาง 2) ด้านการบริการที่ดี มี 2 แนวทาง 3) ด้านการพัฒนาตนเอง มี 3 แนวทาง 4) ด้านการทำงานเป็นทีม มี 4 แนวทาง และ 5) ด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู มี 8 แนวทาง  สมรรถนะประจำสายงาน 29  แนวทาง คือ 1) ด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มี 5 แนวทาง 2) ด้านการพัฒนาผู้เรียน มี 5 แนวทาง 3) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน มี 5 แนวทาง 4) ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน มี 3 แนวทาง 5) ด้านภาวะผู้นำครู มี 7 แนวทาง และ 6) ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ มี 4 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-