การบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียน ในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

ผู้แต่ง

  • ศิริพร สิทธิวงศ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

การบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียน

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม  เขต 1 2)  ข้อคิดเห็นอื่นๆ  ที่เกี่ยวกับการบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียน ในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต  1 ประชากร ได้แก่ โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 14 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน คือผู้บริหารหรือผู้รักษาราชการแทน  ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่งานด้านงบประมาณ  และครูผู้ปฏิบัติงานสอน รวมทั้งสิ้น 42 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ (unit of  analysis)  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียน  ในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม  เขต 1 ผู้วิจัยได้พัฒนามาจากคู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล ของสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ  สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ความถี่(frequencies)  ร้อยละ(percentage) มัชฌิมเลขคณิต(arithmetic mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า

1) การบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียน  ในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม  เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดจำนวน 6 ด้าน  อยู่ในระดับมากจำนวน 15 ด้าน  และอยู่ในระดับน้อยจำนวน  1 ด้าน  ข้อคิดเห็นอื่นๆ  ที่เกี่ยวกับการบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียน  ในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม  เขต 1  ได้แก่ การจัดทำแผนงบประมาณ  คำขอตั้งงบประมาณและจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงินตามที่ได้รับจัดสรรควรมีการแจ้งประมาณการงบประมาณล่วงหน้าเพื่อจะได้จัดทำแผนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมควรมีการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผลการใช้งบประมาณอย่างต่อเนื่อง ควรมีการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พัสดุ การเงิน บัญชี ควรจัดอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อสร้างความมั่นใจและความถูกต้องแม่นยำในการปฏิบัติงาน

 

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019