คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุรัตน์ ชุ่มทอง ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • สำเริง อ่อนสัมพันธุ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณลักษณะโรงเรียนของมาตรฐานสากลของโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อจำแนกตามสถานภาพ ประชากรคือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 145 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มประกอบด้วย 1) ฝ่ายบริหารโรงเรียน คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างานและหัวหน้าโครงการห้องเรียนพิเศษ 15 คน รวม 20 คน 2) ฝ่ายปฏิบัติการสอน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตำแหน่งครูและครูผู้ช่วย รวม 115 คน และ 3) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 10 คน รวมทั้งสิ้น 145 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากล ตามแนวทางเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ  ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้ ค่ามัชฌิมเลขคณิต

      ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล และ ศักยภาพผู้เรียน เป็นพลโลก
  2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อคุณลักษณะโรงเรียนของมาตรฐานสากลของโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อจำแนกตามสถานภาพ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งหน้าที่หลักในสถานศึกษา และประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน พบว่า ความคิดเห็นต่อคุณลักษณะโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนสงวนหญิง จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามเพศและอายุ ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาสถานภาพรายด้าน พบว่า ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งหน้าที่หลักในสถานศึกษาและประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน มีความแตกต่างกัน

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019