การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

ผู้แต่ง

  • เกตกนก สวยค้าข้าว ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • วรกาญจน์ สุขสดเขียว ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

การบริหารงานวิชาการ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะ ประชากรคือ บุคลากรของโรงเรียนราชินีบูรณะ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามกรอบแนวทางคู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล กระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก 6 ด้าน คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การนิเทศการศึกษา การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ อยู่ระดับปานกลาง  6 ด้าน คือ การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การแนะแนวการศึกษา การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น  การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กรหน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา  การส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน
  2. แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 ควรมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ คือ สถานศึกษาควรให้เครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนพัฒนาเครื่องมือและวัดผลอย่างมีมาตรฐานด้วยวิธีการหลากหลาย ควรมีการประสานงานกับสถานศึกษาอื่นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและระบบการนิเทศการศึกษาร่วมกัน ควรสร้างเครือข่ายพัฒนาแหล่งเรียนรู้ เผยแพร่และส่งเสริมให้ครูผู้สอนใช้แหล่งเรียนรู้  ควรเผยแพร่งานวิจัยในชั้นเรียนและจัดอบรมให้ความรู้ด้านการวิจัยและการพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีสำหรับครูผู้สอน ควรมีแผนการดำเนินงานแนะแนวการศึกษาร่วมกับครูผู้สอน  ควรจัดทำโครงการส่งเสริมความรู้สู่ชุมชนและสร้างเครือข่าย ความร่วมมือด้านวิชาการร่วมกับองค์กร หน่วยงานและสถานศึกษาอื่นทั้งในและนอกเครือข่ายสหวิทยาเขต เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกัน

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019