การบริหารเวลากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

ผู้แต่ง

  • ธัณฐภรณ์ สิมมา ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

การบริหารเวลา, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 สถานศึกษาเป็นหน่วยวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 97 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน และ 2) ข้าราชการครู จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 194 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารเวลาตามแนวคิดของมาสเตอร์ตัน และประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของฮอยและมิสเกล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน 

       ผลวิจัยพบว่า

  1. การบริหารเวลาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การจัดทำปฏิทินงาน การรู้จักปฏิเสธ การวางแผน การจัดลำดับของกิจกรรม การควบคุมงานเอกสาร และการบริหารจัดการเวลาที่ไร้ประโยชน์
  2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการใส่ใจในงาน ด้านการคงอยู่ของนักเรียน ด้านคุณภาพโดยรวม ด้านความพึงพอใจในงาน และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

      3. การบริหารเวลากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019