การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางน้ำจืด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ภีมณปภัค สุพรชัยภักดี ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • นุชนรา รัตนศิระประภา ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางน้ำจืด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) แนวทางการพัฒนาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางน้ำจืด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประชากร คือ บุคลากรโรงเรียนบ้านบางน้ำจืด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ 1 คน  และครู จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารตามทฤษฎีการตัดสินใจของคอฟแมน (kaufman) จำนวน 1-ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

       ผลการวิจัยพบว่า

  1. การตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางน้ำจืด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก และรายด้านเรียงมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การปฏิบัติตามทางเลือก การประเมินผลและการปรับปรุงข้อบกพร่อง การเลือกทางเลือก การศึกษาหาทางเลือกและการนิยามปัญหา

            2. แนวทางการพัฒนาการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนบ้านบางน้ำจืด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร  มี 5 แนวทาง คือ 1) ผู้บริหารควรมีการศึกษาข้อมูลและนำมาทำการวิเคราะห์อย่างมีหลักการนำไปสู่การระบุปัญหาที่ชัดเจนและสามารถนำไปอธิบายให้บุคลากรเข้าใจได้อย่างดี 2) ผู้บริหารควรมีการกำหนดวิธีการแก้ปัญหาโดยลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อให้ได้ทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ครอบคลุมและเกิดประโยชน์สูงสุด 3) ผู้บริหารควรศึกษาความเสี่ยงและประโยชน์ของแต่ละทางเลือก และควรนำข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจและให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการเลือกทางเลือก 4) ผู้บริหารควรมีการวางแนวทางหรือกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างละเอียดและเข้าใจง่าย และควรมีการกำหนดหน้าที่ของบุคลากรที่เหมาะสมกับความสามารถเพื่อให้บุคลากรมีการปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ โดยการปฏิบัติงานนั้นผู้บริหารควรเป็นผู้แนะนำและคอยช่วยเหลือ 5) ผู้บริหารควรมีการติดตามผลและมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอและมีการเก็บรวบรวมข้อมูลผลการประเมินที่เป็นระบบ ทำให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการปฏิบัติงานในครั้งต่อไปได้

 

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019