บทบาทผู้บริหารกับการนำและการจัดการลูกเสือที่ดี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

ผู้แต่ง

  • อำไพ โสดาดี ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • สายสุดา เตียเจริญ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1)-บทบาทผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2) การนำและการจัดการลูกเสือที่ดีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารกับการนำและการจัดการลูกเสือที่ดีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 44 โรง ผู้ให้ข้อมูลโรงละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน หัวหน้ากิจกรรมลูกเสือ จำนวน 1 คน และครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือ จำนวน 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวนทั้งสิ้น 176 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหาร ตามแนวคิดของแฟเรน และเคย์ (Farren & Kaye) และการนำและการจัดการลูกเสือที่ดี ตามแนวทางของสมาคมลูกเสือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชณิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. บทบาทผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก-โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ผู้ส่งเสริมสนับสนุน ผู้อำนวยความสะดวก ผู้ให้คำปรึกษา ผู้คาดการณ์ และผู้ประเมิน
  2. การนำและการจัดการลูกเสือที่ดีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการใช้ทรัพยากร ด้านการเปิดรับการเปลี่ยนแปลง ด้านการทำงานร่วมกับบุคคล ด้านการบรรลุผล ด้านการกำหนดทิศทาง และด้านการจัดการเวลาและทักษะส่วนบุคคล
  3. บทบาทผู้บริหารกับการนำและการจัดการลูกเสือที่ดีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง ลักษณะแบบคล้อยตามกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019