ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานนิเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

อรกัญญา เปรมสุข
วรกาญจน์ สุขสดเขียว
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2)-การดำเนินงานนิเทศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1-และ 3)-ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานนิเทศในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1-กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ที่เปิดทำการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 83 โรง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ฝ่ายบริหาร คือ ผู้บริหารสถานศึกษา/รองผู้บริหารสถานศึกษา/ครูวิชาการ/ผู้รักษาการในตำแหน่ง รวม 2 คน และครูผู้สอน 2 คน รวมโรงละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 332 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 ด้าน ตามแนวคิดของคูซและโพสเนอร์ และการดำเนินงานนิเทศในโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน ตามแนวคิดของ กลิคแมน; กอร์ดอน; และรอส-กอร์ดอน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


            ผลการวิจัย พบว่า


  1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1-โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านความซื่อสัตย์อย่างจริงใจ การเสริมสร้างอำนาจ การกระตุ้นให้ใช้สติปัญญา การมีสัญลักษณ์ การมีบารมี และการมีวิสัยทัศน์

  1. การดำเนินงานนิเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากรการพัฒนาหลักสูตร การช่วยเหลือครูโดยตรง และการพัฒนากลุ่ม

       3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานนิเทศในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 โดยภาพรวมมีความ                  สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-