การบริหารเชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว2) ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว ประชากรคือ ผู้อำนวยการ 1 คน-รองผู้อำนวยการ 3 คน ครู 35 คนและบุคลากรในวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว 15 คน จำนวนทั้งสิ้น 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิดของวีลเล็นและฮังเกอร์ (Wheelen and Hunger) และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
- การบริหารเชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การประเมินผลและการควบคุม การปฏิบัติตามกลยุทธ์ การจัดทำกลยุทธ์ และการตรวจสอบสภาพแวดล้อม
2. ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัยการอาชีพบ้านแพ้ว พบดังนี้ (1) มี 4 ปัญหา ประกอบด้วย (1.1)-วิทยาลัยได้รับนโยบายจากผู้บังคับบัญชาระดับสูงมากจึงทำให้ไม่สามารถดำเนินงานตามปกติได้ทัน (1.2) บุคลากรบางส่วนไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร (1.3) บุคลากรที่ได้รับมอบหมายงานขาดความรู้ ความสามารถในงานที่รับมอบหมาย และ (1.4) ขาดการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดประเมินผลกลยุทธ์ และ (2) มี 7 แนวทางการแก้ปัญหา ประกอบด้วย (2.1) กำหนดเกณฑ์คัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมกับงาน (2.2) มีการกระจายงานให้ทั่วถึง (2.3) จัดให้มีการอบรมเกี่ยวกับภาระงานที่ได้รับมอบหมาย (2.4)-ตั้งคณะทำงานให้ประกอบด้วยบุคลากรจากทุกแผนกวิชา (2.5) คัดเลือกผู้มีประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยงในการทำงาน (2.6) ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำเครื่องมือติดตามและประเมินผล และ (2.7) มีการติดตามให้ทุกหน่วยงานใช้เครื่องมือในการติดตามและประเมินผล