องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8

Main Article Content

สุรีย์พร บุญถนอม
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1)-องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  8 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จำนวน 178.คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา  5  คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน และครู 165 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามแนวความคิดของเซ็งเก้ (Senge) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. องค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต  8 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ การคิดเชิงระบบ ความรอบรู้แห่งตน แบบแผนทางความคิด การเรียนรู้ของทีม และวิสัยทัศน์ร่วม

       2. แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต-8 ด้านความรอบรู้แห่งตน สถานศึกษาควรส่งเสริมให้บุคลากรได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาตนเองให้มีความสามารถ ศักยภาพมากยิ่งขึ้น ด้านแบบแผนทางความคิด ควรศึกษาแนวคิดจากนักปรัชญาหรือผู้ที่ประสบความสำเร็จ ปรับเปลี่ยนความคิดให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง พัฒนาความคิดจากการฟัง อ่าน หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น ควรมีสติและจิตสำนึก ใช้วิจารณญาณในการคิดหาเหตุผล และคิดอย่างเป็นระบบในการดำเนินชีวิตหรือปฏิบัติงาน-ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ควรพูดคุยปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับผู้อื่นภายในและนอกองค์กร ปรับวิสัยทัศน์ของตนเองให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์รวมขององค์กร ทั้งนี้ สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้บุคลากรร่วมแสดงความคิดเห็นต่อวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาอย่างกว้างขวาง เพื่อร่วมหาแนวทางในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ด้านการเรียนรู้ของทีม ควรประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในทีมงานอย่างสม่ำเสมอ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบและแบ่งหน้าที่กันชัดเจน มองปัญหาและร่วมกันหาทางป้องกัน สรุปผลการปฏิบัติงานและปัญหาอุปสรรคของงาน ด้านการคิดเชิงระบบ ควรศึกษาข้อมูล เรียนรู้ ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติม ฝึกคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบอยู่เสมอ รวมถึงเข้าใจปัญหาและหาทางแก้ไขอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการดำเนินงาน ปฏิบัติงานอย่างมีขั้นตอน แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและทบทวนการทำงานโดยใช้เหตุผล ตรวจสอบอย่างละเอียดและคำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่ตามมาก่อนที่จะตัดสินใจกระทำการใดลงไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-