การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ตามแนวคิดทักษะอาชีพในอนาคต

Main Article Content

เกษศิริ กมล
แอนจิรา ศิริภิรมย์
ชญาพิมพ์ อุสาโห

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดทักษะอาชีพในอนาคต ประชากรในการวิจัย คือ โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 2,169 โรงเรียน มีกลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา จำนวน 338 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ค่าความถี่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า  ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นการบริหารโรงเรียนในภาพรวมคือ (PNImodified = 0.160) โดยด้านการบริหารงานวิชาการ มีองค์ประกอบย่อย การวัดและประเมินผล มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นลำดับสูงที่สุดคือ (PNImodified = 0.167) การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.165) การจัดการเรียนการสอน (PNImodified = 0.160) ส่วนด้านการบริหารงานทั่วไป มีองค์ประกอบย่อยการจัดพื้นที่การเรียนรู้ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นลำดับสูงที่สุดคือ (PNImodified = 0.156) และด้านการจัดเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นลำดับต่ำที่สุด (PNImodified = 0.153) ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็นรายทักษะ พบว่า ทักษะทางปัญญาขั้นสูงมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นลำดับสูงที่สุดคือ (PNImodified = 0.174) รองลงมาคือทักษะทางกายภาพ (PNImodified = 0.167) ทักษะทางเทคโนโลยี (PNImodified = 0.161) ทักษะทางสังคมและอารมณ์ (PNImodified = 0.158) ส่วนทักษะทางปัญญาขั้นพื้นฐาน (PNImodified = 0.141) มีลำดับค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด

Article Details

How to Cite
กมล เ., ศิริภิรมย์ แ. ., & อุสาโห ช. . (2023). การศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ตามแนวคิดทักษะอาชีพในอนาคต. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 10(3), 423–434. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/264035
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: อักษรไทย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สุเนตรฟิล์ม.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2557). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: เทมการพิมพ์.

วัฒนา โรจน์เจริญชัย. (2553). การบริหารงานวิชาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเบญจมิตร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2562). การแถลงผลการประเมิน PISA 2018. แหล่งที่มา https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/ สืบค้นเมื่อ 19 ส.ค. 2563.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8309&filename=index สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2561.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจุรี่.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาธน.

Alex Grey. (2016). Future of Jobs. From https://www.weforum.org/agenda/2016/01/the-10-skills-you-need-to-thrive-in-the-fourth-industrial-revolution/ Retrieved January 12, 2021.

Anna Davies, D Devin Fidler, Marina Gorbis. (2011). Future Work Skill 2020. From http://www.iftf.org/uploads/media/SR-1382A_UPRI_future_work_skills_sm.pdf Retrieved December 2, 2020.

Bakhshi, H. et al. (2017). Future of Skills Employment in 2030. From https://www.nesta.org.uk/sites/default/files/the_future_of_skills_employment_in_2030_0.pdf Retrieved October 22, 2020.

OECD. (2018). Skills for 2030. From https://www.oecd.org/education/2030-project/teaching-and-learning/learning/skills/Skills_for_2030_concept_note.pdf019 Retrieved November 22, 2020.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

World Economic Forum. (2023). World Economic Forum Annual Meeting. From https://www.weforum.org/events/world-economic-forum-annual-meeting-2023 Retrieved February 5, 2023.