ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐพร สายศร
วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง
สุดารัตน์ สารสว่าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาระดับการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างจากผู้เชี่ยวชาญ โดยมีค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำการปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ .97 และการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้เท่ากับ .92 และมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำการปรับตัวด้านการผลักงานสู่ความรับผิดชอบมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการยึดเป้าหมายให้มั่น ด้านการรับฟังความคิดเห็นของผู้ตาม 2) ระดับการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยพบว่าโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครมีระดับการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ด้านการเรียนรู้เป็นทีมมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรอบรู้แห่งตน ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r(349) = .72, p < .01)

Article Details

How to Cite
สายศร ณ., สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง ว., & สารสว่าง ส. (2020). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 147–161. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/241265
บท
บทความวิจัย

References

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้นท์.

ณัชชา บุญประไพ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

นฤมล จิตรเอื้อ. (2560). บทบาทภาวะผู้นำในการพัฒนาองค์การสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2). 1738

พิริยพงศ์ เตชะศิริยืนยง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับองค์การแห่งการเรียนรู้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต1 กลุ่ม 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยพะเยา.

วีระชาติ วิลาศรี. (2550). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศศิวิมล สุขทนารักษ์. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเขตอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร. (2560). แผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคลลของกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2561-2565). แหล่งข้อมูล http://203.155.220.238/csc/index.php/en/news-announce/announce-news/1431-planhr61. สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2562.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักยุทธศาสตร์การศึกษา. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2563). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Collins Jim. (2013). Learning Organization. Bangkok: Expernate.

Heifetz R.A. (1994). Leadership without easy answers. Cambridge, MA: Belknap Press.

Hersey P. and Blanchard. K.H. (1988). Management of Organizational Behavior: Utilizing Human Resources. Englewood. Boston: PWS-Kent.

Krejcie R.V. & Morgan D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement. 30. 608 – 609.

Marquardt M. J. & Reynolds A. (1994). The Global Learning Organization. New York: Doubleday

Nevis E.C., Dibella A.J. and Gould J.M. (1995). Understanding Organizations as Learning Systems. Sloan Management Review. 36(2).

Northouse P.G. (2007). Leadership: Theory and Practice. 4th ed. Thousand Oaks: SAGEP ublication.

Northouse P.G. (2016). Leadership Theory and Practice. Seventh Edition: Western Michigan University.

Senge P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.