การพัฒนารูปแบบความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมและ เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา การดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษา และวิเคราะห์ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา แล้วทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหา 2) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านธุรกิจโรงแรมและการจัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษาสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คนซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง โดยแบบสัมภาษณ์ชนิดปลายเปิด 3) สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน ซึ่งเลือกมาแบบเจาะจง โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามที่เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ มัธยฐานและพิสัยระหว่างควอไทล์ 4) การประเมินรูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ตัวอย่างเป็นผู้บริหารด้านธุรกิจโรงแรมและผู้บริหารของวิทยาลัยอาชีวศึกษา จำนวน 375 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ซึ่งแบบสอบถามมีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1)องค์ประกอบของรูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักคือ องค์ประกอบด้านการกำหนดเป้าหมายและหลักการ องค์ประกอบด้านการวางแผน องค์ประกอบด้านการดำเนินงาน และองค์ประกอบด้านการประเมิน และในแต่ละองค์ประกอบหลักประกอบด้วย 4 องค์ประกอบย่อยคือ องค์ประกอบด้านความร่วมมือ องค์ประกอบด้านหลักสูตร องค์ประกอบด้านผู้เรียน และองค์ประกอบด้านบุคลากร 2) ผลการประเมินรูปแบบความร่วมมือเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พบว่า รูปแบบความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านธุรกิจโรงแรมของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษามีความเหมาะสมความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติมาก
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
http://www.teenpath.net/cibtebt.asp?ID=13500.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศ. กระทรวง. (2562). สถิตินักท่องเที่ยว. ค้นจาก http://thai.tourismthailand.org/about-tat/statistic.
ชูศักดิ์ บุญปัญญา. (2555). สภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคพะเยาบัณฑิตวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ธานินทร์ ศรีชมพู. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551. ค้นจาก http://www.moe.go.th/webld/pdf/AA/A_32 pdf.
วีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2555). คุณภาพงานบริการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดวงกมล จํากัด.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). การพัฒนางานวิจัยอาชีวศึกษาให้เป็นมืออาชีพ. กรุงเทพฯ :
สำนักนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.2552-2561. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค.
Translated Thai Reference
Kisner & et al,. (1997). The Leadership Challenge. SanFrancisco: Jossey-Bass
Kritman Wattana-Narong. (2011). Vocational education and needs of individuals and societies. Search from http://www.teenpath.net/cibtebt.asp?ID=13500.
Tourism in the country. Ministry. (2562). Tourist statistics. Search from http://thai.tourismthailand.org/about-tat/statistic.
Chusak Bunpanya. (2012). Management conditions for bilateral vocational education Mechanics Program Phayao Technical College Graduate School. Graduate School Thesis Chiang Mai University
Thanin SiChompoo. (2014). Development of a bilateral vocational education system administration model in educational institutions Under the Office of the Vocational Education Commission. Education: Master's thesis.
Ministry of Education. (2008). Vocational Education Act BE 2551. Search from http://www.moe.go.th/webld/pdf/AA/A_32 pdf.
Weeraphong Chalermjirarat (2012). Service quality. Bangkok: Duangkamol Company Limited.
The Office of the Vocational Education Commission (2017). Professional vocational research development. Bangkok: Office of Policy and Planning Office of the Vocational Education Commission.
Office of the Education Council. (2011). Strategy of production and human development of the country during the educational reform in the second decade. 2009-2018. Graphic sweet chillies, Bangkok.