A MODEL OF PARTICIPATION IN THE FIVE PRECEPTS OBSERVATION PROMOTION FOR PRIMARY SCHOOLS

Main Article Content

นพวรรณ ทองย้อย
สิน งามประโคน
บุญเชิด ชำนิศาสตร์

Abstract

การศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาประเทศ ประเทศใดสามารถจัดระบบการศึกษาให้ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและถูกต้อง ประเทศนั้นย่อมประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ  ด้านการเมือง หรือด้านสังคมวัฒนธรรม ทั้งนี้เพราะการพัฒนาประเทศจะต้องอาศัยกำลังคนเป็นสำคัญ ซึ่งกระบวนการที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคนก็คือ การจัดการศึกษา ดังนั้น ทุกประเทศจึงพยายามจัดการศึกษาในประเทศของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการจัดการการศึกษานอกจากจะมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้แล้วจะต้องมุ่งปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียนเพื่อให้เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีอีกด้วย ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ที่ตรัสไว้ว่า นอกจากการศึกษาจะสอนให้คนเก่งแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะอบรมให้ดีพร้อมกันไปด้วย ประเทศเราจึงจะได้คนที่มีคุณภาพ คือ ทั้งเก่งทั้งดีมาเป็นกำลังของบ้านเมือง  ให้ความเก่งเป็นปัจจัยและพลังสำหรับการสร้างสรรค์ และให้ความดีเป็นปัจจัยเพื่อประคับประคองนำความเก่งให้เป็นไปในทางที่ถูก ที่อำนวยผลประโยชน์อันพึงประสงค์ ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในปัจจุบันต่างพยายามที่จะฝึกฝนอบรมจิตใจของเยาวชนให้รู้ผิดชอบชั่วดีมากขึ้น โดยหลายฝ่ายหวังว่าการอบรมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนจะเป็นเสมือนสายป่านที่คอยเหนี่ยวรั้งและฉุดดึงให้เด็กได้มีสภาพจิตใจที่เข้าถึงคุณงามความดีของชีวิต โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงระดับการศึกษาที่ครอบคลุมไปทั้งประเทศ มีการจัดการศึกษาในทุกท้องที่  และเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลจะต้องดำเนินการให้กับประชาชนทุกคนก็คือ การศึกษาระดับประถมศึกษา ฉะนั้นจึงถือได้ว่าการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง  และเมื่อพิจารณาคุณลักษณะของผู้เข้ารับการศึกษาในแต่ละระดับแล้วจะเห็นว่า นักเรียนประถมศึกษาเป็นผู้มีสภาพเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการวางรากฐานเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านคุณธรรมจริยธรรม


วัดเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา “บ้าน” หรือชุมชนไทย เมื่อครั้งในอดีตมี “วัด” เป็น    ศูนย์รวมจิตใจในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาการศึกษา หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ แก่ชุมชน “บ้าน” หรือชุมชนจะร่วมกับ “วัด” โดยการสนับสนุนที่สำคัญจาก “โรงเรียน หรือราชการ” ร่วมกันดำเนินการในลักษณะ ๓ ประสาน “บ้าน วัด โรงเรียน” หรือ เรียกโดยย่อว่า “บวร”

Article Details

How to Cite
ทองย้อย น., งามประโคน ส., & ชำนิศาสตร์ บ. (2019). A MODEL OF PARTICIPATION IN THE FIVE PRECEPTS OBSERVATION PROMOTION FOR PRIMARY SCHOOLS. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 6(1), 208–217. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/184288
Section
Research Article

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. จริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๓.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. แนวทางการดำเนินงาน คลินิกคุณธรรมในสถานศึกษา, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๗.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่เน้นความมีวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๑.
กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๖.
กระทรวงศึกษาธิการ. วัดจะมีส่วนรับภาระและจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ-ได้อย่างไร สกศ.. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์, ๒๕๔๖.
ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม, ๒๕๔๐.
ทิศนา แขมณี. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๔๑.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนการรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๕๑.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, ๒๕๔๕.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก, ๒๕๔๕.
ประภาศรี สีหอำไพ. พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล. จริยธรรมกับเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนในสังคม. กรุงเทพมหานคร : กองการพิมพ์ฝ่ายประชาสัมพันธ์, ๒๕๔๐.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๗, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, ๒๕๕๔.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๗. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, ๒๕๕๕.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา, ๒๕๒๙.
เยาวดี วิบูลย์ศรี, การประเมินโครงการ แนวคิด และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิจัย, การศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. เบญจศีลและเบญจธรรม. กรุงเทพมหานคร มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
สิปปนนท์ เกตุทัต และคณะ. ความฝันของแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : ตะวันออก, ๒๕๔๐.
สุพรรณี ไชยอำพร รศ.ดร., รูปแบบแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน, กรุงเทพมหานคร : ปริณาม, ๒๕๕๐.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. เอกสารการสอนชุดวิชาสัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๗.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. สัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๗.
อุทัย บุญประเสริฐ. หลักการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, ๒๕๔๖.


กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. จริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, ๒๕๕๓.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. แนวทางการดำเนินงาน คลินิกคุณธรรมในสถานศึกษา, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๗.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, คำบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่เน้นความมีวินัยและความเป็นประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๑.
กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, ๒๕๔๖.
กระทรวงศึกษาธิการ. วัดจะมีส่วนรับภาระและจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ-ได้อย่างไร สกศ.. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์, ๒๕๔๖.
ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์. การกำหนดและวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม, ๒๕๔๐.
ทิศนา แขมณี. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๔๑.
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนการรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๕๑.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น, ๒๕๔๕.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก, ๒๕๔๕.
ประภาศรี สีหอำไพ. พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล. จริยธรรมกับเยาวชน. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนในสังคม. กรุงเทพมหานคร : กองการพิมพ์ฝ่ายประชาสัมพันธ์, ๒๕๔๐.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๗, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, ๒๕๕๔.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๗. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๘. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต, ๒๕๕๕.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา, ๒๕๒๙.
เยาวดี วิบูลย์ศรี, การประเมินโครงการ แนวคิด และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิจัย, การศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. เบญจศีลและเบญจธรรม. กรุงเทพมหานคร มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
สิปปนนท์ เกตุทัต และคณะ. ความฝันของแผ่นดิน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร : ตะวันออก, ๒๕๔๐.
สุพรรณี ไชยอำพร รศ.ดร., รูปแบบแหล่งเรียนรู้ด้านคุณธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน, กรุงเทพมหานคร : ปริณาม, ๒๕๕๐.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. เอกสารการสอนชุดวิชาสัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๗.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. สัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๗.
อุทัย บุญประเสริฐ. หลักการบริหารแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์, ๒๕๔๖.