A Study Of Operation Following Of Buddhist Oriented Schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province

Main Article Content

ราตรี รัตนโสภา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เสนอแนวทางในการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จำนวน 181 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 40 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่และร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การดำเนินงานจริง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน ขั้นดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบอยู่ในระดับมาก นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ ขั้นพัฒนาบุคลากรตามระบบไตรสิกขา และขั้นดูแลสนับสนุนใกล้ชิด ส่วนการดำเนินงานที่คาดหวัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน ทุกขั้นตอนอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ขั้นดำเนินการจัดสภาพและองค์ประกอบ ขั้นพัฒนาบุคลากรตามระบบไตรสิกขา และขั้นปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่อง

  2. ความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนวิถีพุทธมีความต้องการจำเป็นในการดำเนินงานทุกขั้นตอน โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ได้ดังนี้ ขั้นเตรียมการ ขั้นประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินการ และขั้นปรับปรุงและพัฒนาต่อเนื่อง

  3. แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 27 แนวทาง เช่น แนวทางการสนับสนุนส่งเสริมให้คณะครูและผู้เกี่ยวข้องไปศึกษาดูงานโรงเรียนวิถีพุทธที่ประสบความสำเร็จ ควรมีการจัดประชุมวางแผนก่อนไปศึกษาดูงาน และภายหลังการศึกษาดูงาน จัดให้มีการประชุมสรุปองค์ความรู้และนำไปใช้จริงอย่างเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

Article Details

How to Cite
รัตนโสภา ร. (2018). A Study Of Operation Following Of Buddhist Oriented Schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journal of Educational Review Faculty of Education in MCU, 4(2), 114–126. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/144020
Section
Research Article

References

The objectives of this research were; 1) to study the operation status of Buddhist based schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, 2) to study the operation requirement of Buddhist based schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, and 3) to propose a guideline of the operation of Buddhist based schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. The mixed research methods were used in the study. The quantitative data were collected from 181 administrators of Buddhist based schools through questionnaires and then analyzed by mean and standard deviation. The qualitative data were collected from in-depth interviews with 40 experts and analyzed by content analysis.
The results of the study found that:
1. The operation status of Buddhist based schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province was at the high level in general. In details of the process, condition and factor operation was at the high level, followed by condition and factor operation process, personnel development based on the Threefold Training, and intimate monitor and support respectively. The expected work operation was at the high level in total and in aspect. The highest level was on condition and factor operation process, followed by personnel development based on the Threefold Training, and continuous improvement and development.
2. The administrators of Buddhist based schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province required the school operation in every process starting from preparation, followed by evaluation, operation distribution, and improvement and development.
3. The guideline in the operation of Buddhist based schools in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province consists of 27 factors. The main factors are to facilitate teachers and staff to visit distinguished schools in the field, to set a plan for each field trip, to evaluate the plan after the field trip, and to analyze the body of knowledge and adjust to the school contexts appropriately.