วาระปัจจุบัน (พ.ศ.2566)

 

ศาสตราจารย์ ดร.สุมาลี ชัยเจริญ
สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
email: [email protected]
[Google Scholar]

ผลงานที่ยอมรับในระดับชาติ หรือนานาชาติ

   1. ) หนังสือ/ตำรา/เอกสารคำสอน
        1.1 สุมาลี ชัยเจริญ.(2560). การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ขั้นสูง ฉบับปรับปรุง. เอกสารคำสอนรายวิชา 212 931.ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์.
        1.2 สุมาลี ชัยเจริญ.(2559). การออกแบบการสอน หลักการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์เพ็ญพริ้นติ้ง.
        1.3 สุมาลี ชัยเจริญ.(2557). การออกแบบสื่อบนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ขั้นสูง. เอกสารคำสอนขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
        1.4 สุมาลี ชัยเจริญ.(2554). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น:โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

    2. ) บทความทางวิชาการระดับชาติ ที่ตีพิมพ์ในวารสารซึ่งอยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 จำนวน 35 เรื่อง เช่น สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ (2561) การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ของผู้เรียนบนพื้นฐานภูมิปัญญาและมิติวิถีไทย เรื่อง แรงและความดัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(2) สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ (2560) การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนบนพื้นฐานภูมิปัญญาและมิติวิถีไทย เรื่องดิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(2) สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2559). การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางปัญญาที่ส่งเสริมการประมวลสารสนเทศ โดยการบูรณาการระหว่างศาสตร์การสอนกับประสาทวิทยาศาสตร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีที่ 27(2) :37-50 (TCI กลุ่ม 1)

    3. ) บทความทางวิชาการระดับนานาชาติ ที่ตีพิมพ์ในวารสารซึ่งอยู่ในฐาน SCOPUS มากกว่า 16 เรื่อง เช่น Chaijaroen, S., Samat, C. (2018) Design and development of learning innovation enhancing learning potential using brain-based learning. Springer Nature, Volume 11003 LNCS, pp. 189-195 (Scopus) Kanjug, I., Srisawasdi, N., Chaijaroen, S., Kanjug, P. (2018) Using constructivist instructional design for flipped classroom to enhancing cognitive learning performance. Springer Nature, Volume 11003 LNCS, pp. 135-145 (Scopus) Chaijaroen, S., Samat, C., (2017) The relationship between preconception and mental effort of the learners learning with constructivist web-based learning environments, The Turkish online journal of education technology, (December Special Issue INTE): pp. 564-569 (Scopus)

    4. ) นำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งอยู่ในฐาน SCOPUS จำนวน 16 เรื่อง เช่น Chaijaroen, S., Deejring, K., Samat, C. (2018) Cognitive flexibility of students learning with constructivist learning environment model enhancing cognitive flexibility in higher education. Proceedings of the International Conference on Computers in Education, Metro Manila; Philippines. (Scopus) Chaijaroen, S., Techapornpong, O., Samat, C. (2018) Learner’s Creative Thinking of Learners Learning with Constructivist Web-Based Learning Environment Model: Integration between Pedagogy and Neuroscience. Proceedings of the Workshop Proceedings of the 25th International Conference on Computers in Education. New Zealand: Asia-Pacific Society for Computers in Education, 4-8 December 2017, Christchurch, New Zealand (Scopus) Chaijaroen, S., Kwanguang, P., Samat, C., Kanjug, I., Somabut, A. (2016). The design and development of the cognitive innovation to enhance problem solving. Proceedings of the 24th International Conference on Computers in Education: Think Global Act Local : Mumbai; India; 28 November 2016 through 2 December 2016. pp 250-260. (Scopus)

    5. ) ผลงานวิจัย
สร้างผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 – 2561 ประกอบด้วย ชุดโครงการวิจัยจำนวน 6 ชุดโครงการ โครงการวิจัยย่อย จำนวน 31 โครงการ และโครงการวิจัยเดี่ยว จำนวน 4 โครงการ ที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งทุนทั้งภายในและภายนอก เช่น สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนับสนุนการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปเป็นกลุ่มโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนรู้ของประเทศ ได้ดังนี้
      5.1 กลุ่มโครงวิจัยด้านการบูรณาการศาสตร์การศึกษากับประสาทวิทยาศาสตร์และการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน มีจำนวน 3 โครงการวิจัย
           (1) การศึกษากระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมทางปัญญาที่บูรณาการระหว่าง Pedagogy กับ Neuroscience: การนำไปใช้ประโยชน์ (พ.ศ. 2559-2561: โครงการวิจัยทุนมุ่งเป้า)
           (2) ชุดโครงการวิจัย การศึกษากระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมทางปัญญาที่บูรณาการระหว่าง Pedagogy กับ Neuroscience ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. 2557-2558: โครงการวิจัยทุนมุ่งเป้า)
           (3) ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางสมองของทรัพยากรมนุษย์โดยใช้ Brain-Based Learning (พ.ศ. 2550-2551)
      5.2 กลุ่มโครงวิจัยด้านการพัฒนานวัตกรรมและสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถทางการคิดและการพัฒนาที่ยั่งยืน มีจำนวน 5 โครงการวิจัย
           (1) ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นและการพัฒนาสมรรถนะการทำงานเพื่อการแข่งขันของประเทศ (พ.ศ. 2554-2555)
           (2) ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมเรียนรู้ที่บูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรมและค่านิยมไทยสำหรับการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน (พ.ศ. 2552-2553)
           (3) ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาโมเดลการสร้างความรู้ของผู้เรียนบนพื้นฐานภูมิปัญญาและมิติวิถีไทย (พ.ศ. 2551-2552)
           (4) โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ (พ.ศ. 2550-2551)
           (5) ชุดโครงการวิจัย เรื่อง การออกแบบและการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของทรัพยากรมนุษย์ โดยความร่วมมือของครูและนักการศึกษา (พ.ศ. 2549-2550)
      5.3 กลุ่มโครงวิจัยด้านนโยบายการผลิตครูและการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา มีจำนวน 2 โครงการวิจัย
           (1) โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสำหรับศตวรรษที่ 21 (พ.ศ. 2555-2556)
           (2) โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก (พ.ศ. 2554-2556)

เกียรติคุณและรางวัล

▪ 2022, “รางวัลคณบดีดีเด่นแห่งชาติ” 
▪ 2019, “รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ” 

ประวัติการทำงาน

 1. ) ประวัติการรับราชการ
                – เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2528 ตามคำสั่ง มข. ที่ 2246/28 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2528
                – ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2548 คำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ 2578/48 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2548
        สรุปตำแหน่งบริหารที่สำคัญ
                พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน – คณบดี คณะศึกษาศาสตร์และรักษาการผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น
                พ.ศ. 2561 – 2562 – รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน วิทยาลัยนานาชาติ
                พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน – ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ระดับปริญญาเอก
                พ.ศ. 2556 – 2558 – รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
               – ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก
                พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน – หัวหน้ากลุ่มวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางปัญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                พ.ศ. 2554 – 2556 – รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                พ.ศ. 2552 – รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                พ.ศ. 2550 – ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะศึกษาศาสตร์
                พ.ศ. 2548 – ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ระดับปริญญาเอก
                พ.ศ. 2546 – ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                พ.ศ. 2546 – หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                พ.ศ. 2528 – 2538 – เลขานุการภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา

 

    2. ) ตำแหน่งกรรมการในราชการที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ/ประสบการณ์ระดับชาติหรือนานาชาติ
        2.1 การปฏิบัติหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิในการติดตามและประเมินวิทยากรหลักสูตรพัฒนานักวิจัยของประเทศ ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2561
        2.2 การปฏิบัติหน้าที่ผู้ประเมินคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
        2.3 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
                1.) บุคคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ผศ., รศ.)
                2.) บุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ)
                3.) บุคลากรสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ)
        2.4 บรรณาธิการวารสารวิชาการ/ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานวิจัย
                1.) ระดับนานาชาติ ได้แก่ International journal of advances in life science and technology, International Journal of Public Policy and Administration Research, Journal of social economics research, Interactive Learning Environments (ISI)
                2.) ระดับชาติ ได้แก่ วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดธานี วารสารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วารสารคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วารสารวิจัยสถาบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    3. ) การเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และกิจกรรมอุดมศึกษา ซึ่งดำเนินการศึกษาโดย คณาจารย์นักศึกษา และผู้บริหารมหาวิทยาลัย
      การเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยที่สำคัญ ได้แก่ กิจกรรมวันสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น งานชื่นชมยินดีด้วยไมตรีและขอบคุณสำหรับผู้สร้างคุณประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย การฝึกซ้อมบัณฑิตและร่วมพิธีสืบทอดปณิธานอุดมการณ์มอดินแดง กิจกรรมวันสถาปนาคณะต่างๆ คณะทำงานด้านการจัดแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมฮอกกี้ นักกีฬาอาวุโสนำกล่าวคำปฏิญาณในการแข่งขันกีฬาระหว่างคณะ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมวันครู กรรมการสมาคมศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์และการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ กิจกรรมทอดกฐินมหาวิทยาลัยขอนแก่น การเข้าร่วมพิธีรดน้ำดำหัวและงานสงกรานต์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เทศกาลลอยกระทงมหาวิทยาลัยขอนแก่น

    4. ) สมาชิก กรรมาธิการ และกรรมการที่สำคัญ
                – กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น (ประเภทผู้แทนคณาจารย์ประจำ) ปี พ.ศ. 2557-2559
                – กรรมการคลัสเตอร์วิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานในโครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
                – กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน
                – คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณารางวัลวิจัยดีเด่น และนักวิจัยเกียรติคุณสารสิน
                – คณะกรรมการการพัฒนานักวิจัยใหม่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน)
                – กรรมการจรรยาบรรณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามคำสั่งสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558
                – กรรมการนโยบายด้านชุมชนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรตามคำสั่งสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558
                – ประธานกรรมการ “จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาอาจารย์ชำนาญการ อาจารย์เชี่ยวชาญ และอาจารย์ เชี่ยวชาญพิเศษ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อก้าวเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น”
                – กรรมการสมาคมศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                – สมาชิกสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย
                – สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย และรองประธานชมรมศิษย์เก่าญี่ปุ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ