การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

จตุรงค์ ธนะสีลังกูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรและประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมในการส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา การวิจัยได้ดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา โดยกำหนดขั้นตอนการวิจัยออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การนำหลักสูตรไปปฏิบัติจริง ขั้นตอนที่ 4 การประเมินติดตามผลหลักสูตร ผลการวิจัย จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน  พบว่า ควรมีการพัฒนาคุณลักษณะนักศึกษาครู 3 ด้าน คือ ด้านการบริหาร ด้านสังคม และด้านการพัฒนาตนเอง นำไปสู่ขั้นตอนในการสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะการติดต่อสื่อสาร ผลของการใช้และประเมินหลักสูตร พบว่า ผลสัมฤทธิ์จากแบบทดสอบความเป็นผู้นำของผู้เข้ารับการอบรมหลังการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าสูงกว่าผลสัมฤทธิ์จากแบบทดสอบก่อนการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดยผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการเปรียบเทียบเจตคติต่อความเป็นผู้นำของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ก่อนและหลังการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำ พบว่า เจตคติต่อความเป็นผู้นำของผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลังการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมมีค่าสูงกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดยค่าเฉลี่ยดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสามารถประเมินผลการใช้หลักสูตร ดังนี้ (1) ผลการประเมินความคิดเห็นในการดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำพบว่า การมีส่วนร่วมในกิจกรรมแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด สำหรับวิทยากร การนำเสนอของวิทยากรแต่ละหน่วยการเรียนรู้ เอกสารการฝึกอบรม สื่อ สถานที่ กิจกรรม และระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมในระดับมาก (2) ผลการติดตามผลหลักสูตรหลังการทดลองใช้ 1 เดือน พบว่ามีคุณลักษณะความเป็นผู้นำเปลี่ยนแปลงเพิ่มจากเดิมในระดับมากทุกด้าน (3) ผลปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรพบว่า ควรเน้นกระบวนการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ โดยใช้กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างแท้จริง

 

Abstract

 The purpose of this research is to improve the curriculum of creative leadership for teachers student of Faculty of Education  Nakhon Ratchasima Rajabhat Unisversity and to evaluate the result of using the curriculum.  The research processes as researching and development by dividing into 4 steps as step 1 study the basic information, step 2 creating the curriculum, step 3 adapting the curriculum to small testing group as 10 people to navigate the curriculum to certain situation  and step 4 evaluate the result.  In step 1 was found that characteristics of leadership that should be primary improved can be divided by 3 characters which are management skill, social skill and self-improve skill, step 2 the result is the creative leadership experts deem the characteristics of leadership that should be improved for teacher students and should be added to the curriculum consider the average from maximum to minimum are cooperating, creativity, decision making and communication skill, step 3 was found that the comparison of leadership achievement between before and after of the curriculum participant is that the achievement of after-training has higher value than the before-training participants the said achievement has the different statistic significantly at 0.5 and the comparison of attitude of after-training participants has higher value than the before-training trainee as well which has the statistical difference as 0.5. the result of researching is (1) the evaluating result of the curriculum the content of training the cooperate in each study unit and the participation of opinion expression is uttermost appropriated, as for the lecturer, the presentation of each study unit, documents, media, location, activity and the duration are most suitable as well (2) the results of following the teacher students who participated in the curriculum are increased at every field (3) the result after adjusting the curriculum which aim the training systematically by using the well-cooperated activity has profited the participants greatly.

Keywords: curriculum development, creative leadership

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)