บทบาทของผู้บริหารในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามสถานภาพ ขนาดสถานศึกษา และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 238 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา จำนวน 28 คน หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 28 คน และครูผู้สอน จำนวน 182 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่า t-test การทดสอบค่า F-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. บทบาทของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน ในภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีความสามารถรายบุคคล รองลงมา คือ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน และด้านการคิดเชิงระบบ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีแบบแผนการคิดอ่าน
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถาบันการอาชีวศึกษา ในการจัดองค์กรแห่งการเรียนรู้ จำแนกตามสถานภาพ ขนาดของสถานศึกษา และระดับการศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน
Abstract
The purposes of this research were to study the roles of educational institution administrators in the management of learning organization of vocation education institution in Northeast Thailand, and to compare such roles distinguished by status, institution size and education level of subjects. The sample group of 238 persons consisted of 28 administrators, 28 academic heads and 182 teachers chosen by multi - stage sampling. The instruments for data collection were 5- level rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis included
frequency ,percentage, mean, standard deviation, t- test and F- test.
The research found the following:
- On the whole, the opinions of administrators, academic heads and teachers the roles of educational institution administrators in the management of learning organization were rated moderate. By aspects, listed in the high – low order of the means, the highest was individual competency, followed by team work, shared vision and systematic thinking; while the lowest was that of thinking pattern.
- In comparing the opinions on the roles of educational institution administrators in the management of learning organization distinguished by status, institution size and education level, a difference at the .01 level of statistical significance was found both on the whole and in all aspects.
Keywords: Learning Organization ,Vocational College , School administrators