แนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้การบวกในบริบทของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

วิภาพร สุทธิอัมพร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนรู้และสำรวจแนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้การบวก เก็บข้อมูลจากครูและนักเรียนในชั้นเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ดำเนินการสอนตามแนวทางของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดจำนวน 4 โรงเรียน  วิเคราะห์ข้อมูลจากโพรโตคอลตามทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสังคมและวัฒนธรรม วีดิทัศน์ชั้นเรียนและชิ้นงานการทำกิจกรรมของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทของการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดทำให้เกิดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่มีความหมาย เกิดบทสนทนาเชิงการสอน  และเกิดการเข้าร่วมในกิจกรรมสำหรับนักเรียนได้อย่างแตกต่างหลากหลาย ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้เชิงสังคมและวัฒนธรรม 2)  นักเรียนแสดงแนวคิดเรื่องการบวกผ่านการใช้ภาษาพูดในการเล่าเรื่องได้แตกต่างกันทั้งการบวกแบบรวมกันและการบวกแบบเพิ่มขึ้น มีการเขียนแสดงแทนด้วยการวาดรูป เขียนภาพบล็อก ประโยคสัญลักษณ์ และการใช้ลูกศรแสดงทิศทางของการนำจำนวนมาบวกกัน

Abstract

          The purpose of this study was to analyze learning activity and explore students’ ideas for learning about addition. Target group was teachers and students in four classes of first grade class from four schools. These  schools  participated in the professional development project base on Lesson Study and Open Approach. Data collected from classroom videos and students’ artifacts and analyzed by protocol analysis using sociological theory. The results found that 1) the context of Lesson Study and Open Approach allow meaningful activity setting, instructional conversations that are constructs of learning according to sociological and   2) students expressed ideas about addition by verbal language for together and increase addition, represented by drawing the pictures, block diagram, number sentences, and use the idea of direction  by arrow diagram.

Keywords : Students’ ideas, Addition, Lesson Study, Open Approach

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)