ความหมายในรูปปั้นศาลาแก้วกู่

Main Article Content

อรอนงค์ ฤทธิ์ฤาชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ความหมายที่แฝงไว้ในรูปปั้นศาลาแก้วกู่ ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการเห็นคุณค่าและความสำคัญของมรดกแห่งวัฒนธรรมอีสาน อีกทั้งเป็นการเผยแพร่ข้อความรู้แก่สาธารณชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอีสาน โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามโดยจดบันทึกความหมาย คติธรรมคำสอนที่จารึกไว้ที่ฐานของรูปปั้นต่างๆ ในศาลาแก้วกู่ ทั้งภาษาไทยและภาษาอีสาน บันทึกภาพถ่ายและวีดิโอ

ศาลาแก้วกู่เกิดจากแรงบันดาลใจของหลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์ โดยได้สร้างสถานที่แห่งนี้เมื่อราว

ปี พ.ศ. 2521 ตามความเชื่อว่าหลักคำสอนทุกศาสนาสามารถนำมาผสมผสานได้ โดยเฉพาะศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ รูปแบบของรูปปั้นจึงออกเป็นแนวเทพฮินดู แต่ก็มีส่วนผสมของศาสนาพุทธรวมอยู่ด้วย รูปปั้นอันใหญ่โตอลังการนี้ ล้วนแล้วแต่แฝงด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนาเตือนใจแก่ผู้เยี่ยมชม โดยยึดหลักคำสอนของพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการก่อสร้าง เริ่มตั้งแต่วัฏสงสาร บ่อเกิดแห่งการเกิด แก่ เจ็บ ตาย รูปปั้นเล่าเรื่อง และตำนานพื้นบ้าน รูปปั้นที่แสดงให้เห็นถึงนรก สวรรค์ ผลของการทำความดี ความชั่ว ศาลากู่แก้วจึงถือเป็นสถานที่ซึ่งคล้ายพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่แสดงรูปปั้นทางศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดหนองคาย โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางพุทธศาสนาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป

จากการศึกษาวิจัยพบว่ารูปปั้นในศาลาแก้วกู่จำนวน 141 รูป ได้แฝงความหมาย คติธรรมคำสอนไว้โดยแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านศาสนา ด้านคำสอน และด้านวรรณกรรม ด้านศาสนาประกอบด้วยความหมายที่เป็นพุทธประวัติ เทวประวัติ จำนวน 89 เรื่อง ด้านคำสอนประกอบด้วย คำสอน ปริศนาธรรม และคติสอนใจ จำนวน 34 เรื่อง ด้านวรรณกรรมประกอบด้วย ตำนานพื้นบ้านอีสาน และวรรณคดีอื่น จำนวน 13 เรื่อง นอกจากนี้มีรูปปั้นบางส่วนที่แฝงด้วยความหมายทั้งสองด้าน ได้แก่ ด้านศาสนาและวรรณกรรม จำนวน 2 เรื่อง ความหมายด้านคำสอนและวรรณกรรมจำนวน 3 เรื่อง

ศาลาแก้วกู่นับเป็นภูมิปัญญาในการใช้กุศโลบายแอบแฝงความหมาย คติธรรมคำสอนไว้ในรูปปั้นเพื่อเป็นสื่อสอนให้รู้ผลของการทำดี ผลของการทำชั่ว ตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวไทยทุกคน สมควรอย่างยิ่งที่จะให้ทุกคนได้ศึกษา และนำไปยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการครองชีวิตให้อยู่ในความดีงาม

 

Abstract

The objective of this research was to study background history, And meaning of sculpture in the Sala Kaew Koo. However, the tendency to promoting the appreciation and the importance of the cultural heritage of Northeast. In addition, the public knowledge in the public. And promote tourism in the northeast region. The research was done by studying previous literature and field data by record  inscription at the base of the sculpture are in Sala Kaeo Koo, both of Thai and Isan language. Photography and video.

Sala Kaeo Koo from the inspiration of Luang Poo Boon Leua Sureerat has built this place approximately the year 2521 based on the belief that all religious doctrine has to be integrated. Especially Hinduism and Buddhism Form of the sculpture is out in rows Hindu god It has a mixture of Buddhism included. A grand sculpture of this giant. Are all embedded with the Buddhist concept reminder to visitors. Based on the doctrine of Buddhism as a guide in its construction. From round of existences, cycle of birth and death , origin is occurrence , old , The painful , die , the molded figure tells a story and local legend.The realm of the dead to the pain narrative sculpture. And folk legends. The sculpture shows the effect of hell, heaven, doing goodness, malignance, Sala Kaeo Koo is a place where like an outdoor museum that displays of religious sculptures of the most important of Nong Khai province. The goal is for tourism to Buddhist religious general.

The study found that the sculpture in Sala Kaew Koo 141 images can convey it can be divided into three aspects of religious, teachings and literature.  Religion consists of 89 historical Buddha, the divine image. Teaching consist of 34 moral and collectivism Koan. Literature consists of 13 Northeastern folk legend and other literary.  In addition, a sculpture of some hidden meaning, both religious and literary aspects of 2 images, the meaning of the teachings and literature of 3 images.

Sala Kaeo Koo is a wisdom in the use of strategy hidden morale in the teaching sculpture as a mass media teaches them to know the effects of doing good. The effects of evil. According to traditionally doctrines of the Buddhism . This is the treasure of the Thai people. Should look forward to for all to study. And to take action. As a guide of life for 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)