การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาสังคมศึกษา ส31103 โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

พิทยาภรณ์ แก้วพิลากุล
ลัดดา ศิลาน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนที่ 3 จำนวน 33 คน โรงเรียนวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือปฏิบัติการ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based learning) จำนวน 5 แผน 10 ชั่วโมง 2) เครื่องมือสะท้อนผลการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู, แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยผู้ช่วยวิจัย และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียน และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร 3) เครื่องมือประเมินผลการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้เรียนมาวิเคราะห์ ตีความ สรุปผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยนำแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า   1) นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 81.82 ของคะแนนเต็ม จำนวน 27 คน ผลคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 75.36 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป  2) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 87.87 ของคะแนนเต็ม จำนวน 29 คน ผลคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 75.36 คะแนน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป

Abstract

The objectives of this research were to develop the learners’ ability to think critically by problem based learning. This research targets grade 4(M4) students studying during the second semester school year 2014 of Watthana Nakorn School, under Sakeao Provincial Administration Organization (PAO). There are 33 students used for this research. Tools used in this study were divided into 3 types: 1. the action tools were 10 hours conducting to develop the critical thinking ability using problem based learning (PBL). 2. The reflection tools consisted of the teacher's journal, the observation forms recorded by research assistants, the student interviews, and the test at the end of circuit, and 3. The evaluation tools were 1) the test conducted to measure the critical thinking ability 2) the achievement test. This research is based on the classroom action research. The analysis of the gathered data was divided into two parts are the qualitative analysis and the quantitative analysis of the data from the test answered by the students at the end of the lesson. The average and the percentage of the students who can think critically were determined by the test of the ability to think critically and the exam. The results of the research were summarized as follows: 1. There were 81.82 percent of students who can think critically at Social Studies. The average score was 71.20 percent passed over the 70 percent criteria and predetermined average. 2. There were 87.87 percent of the students who passed for the learning achievement of Social Studies. The average score is 75.36 percent passed over the 70 percent criteria and predetermined average.

Keywords:   Critical thinking ability, Using Problem-based learning

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)