การประเมินความต้องการจำเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิชาชีพ ของครูผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Main Article Content

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น (Needs Assessment) จัดลำดับความต้องการจำเป็น และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้ดูแลเด็กประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 397 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีด้วยวิธีการเปรียบเทียบรายคู่ (Paired-Samples T-Test) การใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูผู้ดูแลเด็กทั้งสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้านแสดงว่าครูผู้ดูแลเด็กมีความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพทุกด้าน 2) ด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือ การพัฒนาผู้เรียน รองลงมา ได้แก่ การบริหารจัดการหลักสูตรและการเรียนการสอน การบริการที่ดี และคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูผู้ดูแลเด็กที่สำคัญ คือ 3.1) พัฒนาครูให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้แนวใหม่ให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 อย่างจริงจัง เช่น รูปแบบ Work-Based Learning, Project-Based Learning, Student-Center Learning, Self-Directed Learning, Collaborative Learning, Project-Based Learning, Problem-Based Learning เป็นต้น 3.2) พัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (learning and innovation skills) ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงในศตวรรษที่ 21 (4C’s) ได้แก่ ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (creativity and innovation) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (critical thinking and problem solving) ทักษะการสื่อสาร (communication) และทักษะความร่วมมือ (collaboration) และ3.3) พัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ ได้แก่ (1) กำหนดวิสัยทัศน์มุ่งไปสู่ 4C’s (2) สร้างชุมชนแห่งความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน (stakeholders) ให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ (ownership) โดยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (3) จัดระบบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ร่วม 4C’s (4) ใช้ 4C’s เป็นกรอบในการพัฒนาวิชาชีพ (5) แทรก 4C’s ในหลักสูตรและการประเมินผล (6) สนับสนุนครูทุกคนให้สอนในกรอบของ 4C’s และ(7) สร้างวัฒนธรรมพัฒนา 4C’s อย่างต่อเนื่อง

Abstract

The research objectives were to study needs assessment, needs priority, and suggestions for professional competency development of child care teachers at child development centers under local government organizations. Study sample comprised 397 child care teachers. Research tools were questionnaire and focus group discussion guideline. Data analysis employed the techniques of frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, paired-sample t-test, Modified Priority Needs Index, and 

content analysis. Research results are the following: 1) the means of the practice of professional competency development of child care teachers in reality and as expected are different at .01 statistical significance in all dimensions -- indicating the needs for child care teacher for all dimensions of professional competency development; 2) needs priority for development in descending order are learner's development, curriculum and teaching management, quality service, and morality and ethics; 3) key suggestions for competency development are 3.1) teacher development enabling actual new learning process management techniques suitable for the 21st Century such as Web-Based Learning, Project-Based Learning, Student-Center Learning, Self-Directed Learning, Collaborative Learning, and Problem-Based Learning; 3.2) development on learning and innovation skills suitable for real life 21st Century -- 4C's : creativity and innovation, critical thinking and problem solving, communication, and collaboration; and 3.3) development of curriculum and learning as (1) vision formulation oriented to 4C's, (2) community of collaboration building among stakeholders to feel ownership by shared vision design, (3) child develop center system building for shared vision towards 4C's; (4) making 4C's as professional development framework, (5) injecting 4C's in curriculum and evaluation, (6) encouraging all teachers to instruct according to 4C's, and (7) building sustainable 4C's development culture.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)