การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติของ HEWSON & HEWSON (2003) ร่วมกับการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนา SCIENTIFIC CONCEPTUAL CHANGE OF GRADE 7 STUDENTS ON FORC

Main Article Content

อิสราพร เภรินทวงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจและการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและ
การเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติของ Hewson & Hewson
(2003) ร่วมกับการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนา กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนสีชมพู
ศึกษา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2556 จำนวน 35 คน รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบไม่เข้าขั้นการทดลอง (Pre-Experimental
Design) แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 6 แผน ใช้เวลา 12 ชั่วโมง
2) แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 20 ข้อ และ 3) การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนา
โดยใช้ตั๋วออก (Exit Ticket) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำคำตอบจากแบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์จัดกลุ่ม
คำตอบตามระดับความเข้าใจ 5 ระดับ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมโนมติของนักเรียนเป็นรายข้อ รายมโนมติ รายบุคคล
และทั้งชุดข้อสอบ โดยใช้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงมโนมติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t – test ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติหลังการใช้ยุทธศาสตร์การสอนสูง
กว่าก่อนการใช้ยุทธศาสตร์การสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนมโนมติ รายข้อพบ
ว่า จำนวนนักเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงมโนมติตามเกณฑ์มากที่สุดที่มีร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลง
มโนมติตามเกณฑ์ คือเรื่อง ตำแหน่งของวัตถุเทียบจุดอ้างอิง คิดเป็นร้อยละ 97.24 สำหรับการเปลี่ยนแปลงมโนมติ

ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนรายบุคคล พบว่า นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์ตามเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100 และจากการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนา พบว่า นักเรียน
มีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น

The purpose of this research was to study grade-7 students’ scientific conceptual change force and
movement through Hewson & Hewson (2003)’s instructional strategy for conceptual change along with
formative assessment. The target group consisted of 35 grade 7 students at Sichompusueksa School,
under the Office of Khon Kaen Provincial Administration Organization, during the first semester of the 2013
academic year. The study employed the One-group Pretest-Posttest Design for data collection. The study
tools comprised, i.e. the experimental tool which consisted of 6 lesson plans on the subject of “Force and
Movement” which took 12 instructional periods to finish, and the data collection tool which consisted of
2) a 20-item scientific-change test on the subject of “Force and Movement” and 3) a measurement and
evaluation for development tool using the exit ticket. The data collected from the students’ answers to
the scientific-change test were analyzed and grouped according to 5 levels of their understanding.
The students’ conceptual changes were analyzed item by item, case by case and for the whole test by
basing on attitudinal change criteria. The collected data were analyzed by means of computing percentage,
arithmetic mean, standard deviation and a t-test. The students showed a higher posttest score of
understanding of scientific change on the subject of “Force and Movement” than their pretest one at the
.01 level of significance. A study of the students’ scientific conceptual change on the basis of item-by-item
assessment revealed that the students’ scientific conceptual-change achievements are 97.24%. A Study
of the students’ scientific conceptual change found that 100% and a study of the formative assessment
which was done with a purpose of applying the results to the adjustment of learning activities showed that
after the experiment the students had attained a higher level of understanding of the scientific concept of
force and motion.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)