การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ แบบร่วมเรียนร่วมรู้ (LEARNING TOGETHER TECHNIQUE) รายวิชา ส16101 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม โรงเรียนวังยางวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์ THE DEVOLOPMENT OF GRADE

Main Article Content

อัธยา เมิดไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ให้นักเรียนร้อยละ 70
ผ่านเกณฑ์ในระดับดีขึ้นไป 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้นักเรียน
ร้อยละ70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการ
จัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการครั้งนี้ คือนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวังยางวิทยาคาร จังหวัดกาฬสินธุ์
จำนวน 20 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีการดำเนินการเป็น 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแบบร่วมเรียนร่วมรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน 2 )เครื่องมือที่ใช้
ในการสะท้อนผลการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ของครูและพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้
แบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะทางสังคมแบบปรนัย
จำนวน 27 ข้อ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ
ร่วมเรียนร่วมรู้ นักเรียนร้อยละ 70.00 มีคะแนนทักษะทางสังคมในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 72.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้
แบบร่วมเรียนร่วม นักเรียนร้อยละ 80.00 มีคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 73.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ที่กำหนด 

3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมเรียนร่วมรู้ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 เรื่องวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม ในภาพรวม มีระดับดี ( x = 2.76) เมื่อประเมินในรายด้าน ด้านที่
มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ( x =2.93) รองลงมาคือด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมิน
ผล คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.84 และ 2.71 ตามลำดับ

The objective of the present research study were 1) to develop Grade XI Students’ social skills in the
subject of S16101 Civics, Culture and Social Life at Wangyang Wittayakarn School in Kalasin Province
using Learning Together Technique so that 70% of the students pass the prescribed criterion of “good” or
better, 2) to develop the students’ learning achievement so that 70% of them make a mean learning
achievement score of 70% or better and 3) to study the students’ opinion about learning activities based
on the Learning Together Technique. The study followed Action Research procedure for which the target
group consisted of 20 grade VI students in Wangyang Wittayakarn School, Kalasin Province during the first
semester of the 2013 academic year. Research instruments included 1) experimental tool which consisted
of 10 instructional plans based on the Learning Together Technique on the Social Studies, Religion and
Culture learning strand for grade VI, 2) reflection tool which consisted of a teacher’s diary for keeping a
record of learning activities, a teaching-learning activities observation form, a questionnaire to elicit the
students’ opinion about the learning activities and end-of-spiral quizzes and 3) evaluation tool which
included a 27-item skill test and a 30-item learning achievement test. The collected data were analyzed by
means of finding arithmetic mean, percentage and standard deviation and the conclusion was presented
in the form of a narrative description.
The findings showed that:
1. Seventy percent of the students made a score of 72.87% on social skills which is at the “good”
level or better and is higher than the prescribed criterion of 70%;
2. Eighty percent of the students made a mean learning achievement score of 73.16% which is
higher than the prescribed passing criterion of 70%; and
3. The students’ opinion about the learning activities, as a whole, is at the “good” level ( x = 2.76).
However, when each aspect of the students’ opinion was assessed, it was found that the aspect that showed
the highest mean score was the learning activities ( x = 2.93). The next aspects of significance concerning
the students’ opinion about learning activities included instructional media and evaluation with a mean score
of 2.84 and 2.71, respectively.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)