การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านการวิจัยและประเมินผลการศึกษาผ่านการใช้สื่อมัลติมีเดีย ตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญาของเมเยอร์ของนักศึกษาโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย

Main Article Content

สุนทร เทียนงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการเรียนรู้การวิจัยและประเมินผลการศึกษาโดยการใช้
สื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญาของเมเยอร์ของนักศึกษาโปรแกรมการศึกษาปฐมวัย ใช้แบบแผนการวิจัย
แบบก่อนทดลอง ประชากร คือ ครูระดับชั้นอนุบาลที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่
31 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 11,688 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการใช้
สื่อมัลติมีเดีย 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อมัลติมีเดีย 3) แบบติดตามประเมินผลการใช้สื่อมัลติมีเดีย และ
4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1
การสำรวจความต้องการการใช้สื่อมัลติมีเดีย ระยะที่ 2 การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย โดยมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ
และผลผลิต (E1/E2) มีค่าเท่ากับ 81.44 : 81.03 ระยะที่ 3 การติดตามประเมินผลการใช้สื่อมัลติมีเดีย การวิเคราะห์
ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
ผลการสำรวจความต้องการการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านการวิจัยและประเมินผล
พบว่า เมื่อเรียงลำดับคะแนนความต้องการที่มีค่าสูงสุดไปจนถึงค่าคะแนนต่ำสุด ได้แก่ ลำดับที่ 1
รูปแบบสื่อมัลติมีเดียที่กระตุ้นการเรียนรู้ที่ดี ลำดับที่ 2 ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ลำดับที่ 3 ความรู้ด้าน
การวิจัยและประเมินผลการศึกษา ลำดับที่ 4 ทักษะเกี่ยวกับการใช้สื่อมัลติมีเดีย
ผลการวิเคราะห์การติดตามประเมินผลพฤติกรรมการใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้าน
การวิจัยและประเมินผลการศึกษา พบว่า ในระยะ 1 เดือนที่ผ่านมานักศึกษาใช้สื่อมัลติมีเดีย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์
ร้อยละ 42.74 รองลงมา 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 28.76 สำหรับการทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนในการใช้
สื่อมัลติมีเดีย พบว่า นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียนทุกครั้ง ร้อยละ 52.2 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 

หลังเรียนบางครั้ง ร้อยละ 33.5 ทำแบบทดสอบเฉพาะหลังเรียน ร้อยละ 14.9 และทำแบบทดสอบเฉพาะก่อนเรียน
ร้อยละ 8.9 สำหรับการใช้สื่อมัลติมีเดียในการศึกษาเนื้อหา พบว่า นักศึกษาศึกษาครบทุกบทเรียน ร้อยละ 54.0
รองลงมาศึกษาเฉพาะบางบทเรียนที่ต้องการ ร้อยละ 49.7 และพบว่าระดับความรู้ความเข้าใจด้านการวิจัยและ
ประเมินผลการศึกษาภายหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of this research was to research and develop the educational research and evaluation
learning process according to Mayer’s Cognitive Theory of multimedia learning of student teacher in early
childhood education program. Pre-experimental design were employed. The population was the early
childhood in-service teacher in the area of 31 provinces under the academic cooperative project between
the office of local administration and Suan Dusit Rajabhat University. The four instruments were employed:
1) needs assessment questionnaire concerning the multimedia using 2) multimedia quality assessment
questionnaire 3) monitoring and evaluating the multimedia using questionnaire 4) educational research and
evaluation achievement test. Data collection was conducted in 3 steps: 1) studied needs assessment of
multimedia using 2) developed the multimedia, the proportion of efficiency of process and product (E1/E2)
is 81.44/81.03. 3) monitored and evaluated the multimedia using.
The results of research were found that:
The results of needs assessment were found that the score ranking of needs of multimedia using
from maximum to minimum were the types of multimedia facilitate student learning, self-directed learning,
educational research and evaluation knowledge, and multimedia using skills, respectively.
The result of monitoring and evaluating of multimedia using were found that 42.74 percentage of
students used multimedia 1-2 times per week and 28.76 percentage of students used multimedia 3-5 times
per week. The percentage of student that pre-posttest doing were found that 52.2 always do, 33.5 sometimes
do, and 14.9 do posttest only. The methods of studying were found that 54.0 percentages studied every
lesson and 49.7 percentages studied some interested lesson only. The educational and evaluation knowledge
were found that the posttest score was significantly higher than pretest score at level 0.05.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)