ภาวะผู้นำทางการศึกษาตามอัธยาศัยของครูภูมิปัญญาไทย : การศึกษาทฤษฎีฐานราก

Main Article Content

ศุภกร ศรเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีจากการศึกษาปรากฏการณ์ของภาวะผู้นำทางการศึกษา
ตามอัธยาศัยของครูภูมิปัญญาไทย โดยอธิบายถึงความหมายและลักษณะ เงื่อนไข กระบวนการเกิด ผลสืบเนื่องจาก
การเกิด และการคงอยู่ ภาวะผู้นำทางการศึกษาตามอัธยาศัยของครูภูมิปัญญาไทย จากมุมมองของคนในปรากฏการณ์
ผู้วิจัยเลือกพื้นที่ที่ศึกษาโดยวิธีการเลือกเชิงทฤษฎี เป็นครูภูมิปัญญาไทยท่านหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่สอดคล้องกับ
ความมุ่งหมายของการวิจัย การรวบรวมข้อมูลกระทำโดยพหุวิธีการ ได้แก่ การศึกษาประวัติชีวิต การวิเคราะห์เอกสาร
การศึกษาหลักฐานหรือข้อมูลที่มีอยู่ตามสภาพปกติ การสังเกตและจดบันทึก การสัมภาษณ์ เชิงลึก และการจัดสนทนา
กลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อยู่ในปรากฏการณ์และบุคคลภายนอก จำนวนทั้งสิ้น 60 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี
การแปลความและตีความหมายข้อมูล แล้วสร้างมโนทัศน์ขึ้นโดยอาศัยความไวเชิงทฤษฎี และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
NVIVO v.8 (free Trial software) ช่วยในการจัดระบบการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นสุดท้าย
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำทางการศึกษาตามอัธยาศัยของครูภูมิปัญญาไทย คือ ความเป็นผู้มีความคิดก้าวไกล
แก้ไขเปลี่ยนแปลง แสดงพฤติกรรม เลิศล้ำวิชาการ ชำนาญกลยุทธ์ เร่งรุดบริการ และจิตเบิกบานด้วยคุณธรรม
2. เงื่อนไขการเกิด มี 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขภายนอก ได้แก่ ก่อเกิดองค์ความรู้ การเป็นอยู่ทางสังคม นิยมวิถี
มีวัฒนธรรม รังสรรค์สิ่งแวดล้อม นโยบายพร้อมรัฐส่งเสริม และเงื่อนไขภายใน ได้แก่ นอบน้อมถ่อมตน ฝึกฝนจนช่ำชอง
เอื้อญาติผองและน้องพี่ บารมีเต็มเปี่ยม ยอดเยี่ยมใฝ่เรียนรู้ เอ็นดูลูกศิษย์ มีจิตอาสา นำพาคุณธรรม
3. กระบวนการเกิดภาวะผู้นำ เกิดจากการปรับตัวเอง การถ่ายทอด และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และ
การแก้ไขปัญหา ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการเกิดขึ้น ได้แก่ ความรู้ ทักษะ เทคนิค แหล่งเรียนรู้ และเครือข่าย
4. ผลสืบเนื่องจากการมีภาวะผู้นำทางการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลด้านบวก ได้แก่ ครูต้นแบบ สังคม
แห่งความสุข และความอยู่ดีมีสุข ผลด้านลบ ได้แก่ ด้านตนเอง ด้านครอบครัว และด้านชุมชน
5. การคงอยู่ของภาวะผู้นำทางการศึกษาตามอัธยาศัยของครูภูมิปัญญาไทย คือการมีเจตคติที่ดี และแรงจูงใจ
ภายใน

The purposes of this study were to present theoretical conclusions of the phenomena of leadership of Thai
wisdom teachers in terms of definitions and characteristics, conditions, leadership process development,
retaining process and perspectives of stakeholders. A Thai wisdom teacher, obtained through theoretical
selection, who had the characteristics related to the research objectives. Multi-case studies were employed
for data collection comprising autobiography, analysis of current evidence or information, observation,
written records, in-depth interviews and focus group discussion. The group informants were 60
participating members of an organization and non-participating members. Data were analyzed using
translation and interpretation followed by formulating the concepts based on the theoretical sensitivity.
The NViVo v. 8 (free trial software) was utilized for the final stages of data analysis.
The findings were as follows:
1. The characteristics of leadership of Thai wisdom teachers involved advanced thinking, adjustment
for changes, expressive behavior, academic excellence, strategic expertise, service commitment, and
moral.
2. The conditions of Thai wisdom comprised two components. The external conditions involved
knowledge creation, social factors, lifestyle of living traditions, culture, Individual context, and government
policy support. The internal conditions involved moderate, development of personal expertise, generosity,
prestige, seeking knowledge, showing kindness to students, public mindedness, and morale.
3. The leadership process was developed through individual adjustment, transfer and continuous
task development and problem solving. The factors affecting the process of leadership development involved
knowledge, skills, techniques, learning resources, and network.
4. The consequence resulting from leadership of Thai wisdom teacher was both positive and
negative effects. The positive effects were related to being a master teacher, happy societies, and people’s
wellbeing. The negative effects were associated with self, family and community.
5. The retaining process of leadership of Thai wisdom teachers involved good attitudes and internal
motivation.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)