การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ ออกซิเจน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เมื่อใช้รูปแบบการสอนแบบเปรียบเทียบ ตามแนวคิด FOCUS - ACTION

Main Article Content

ฤทธิชัย เสนาพรหม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ออกซิเจนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เมื่อใช้รูปแบบ
การสอนแบบเปรียบเทียบตามแนวคิด Focus - Action - Reflection (FAR) Guide กลุ่มเป้าหมายครั้งนี้ คือ นักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ จังหวัดมหาสารคาม
จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รูปแบบการวิจัยเป็นแบบไม่เข้าขั้นการทดลอง
(Pre - experimental Design) แบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest - Posttest
Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน โดยใช้รูปแบบการสอนแบบเปรียบเทียบตามแนวคิด Focus -
Action - Reflection (FAR) Guide จำนวน 7 แผน ใช้เวลาสอน 14 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตชั้นเรียน และชิ้นงาน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำคำตอบจากแบบวัดความเข้าใจมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์จัดกลุ่มคำตอบตามระดับความเข้าใจ 5 ระดับ และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงมโนมติ
ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน รายมโนมติ รายบุคคล และทั้งชุดแบบวัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t - test

ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
พบว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้นั้นนักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในที่คลาดเคลื่อน (Alternative
Conception: AC) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.71 แต่หลังการจัดการเรียนรู้เมื่อใช้รูปแบบการสอนแบบเปรียบเทียบ
ตามแนวคิด Focus - Action - Reflection (FAR) Guide นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับ
ที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (Partial Understanding: PU) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29.29
2. การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ออกซิเจนของนักเรียน
เป็นรายบุคคล พบว่า มีนักเรียนที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ จำ�นวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 57.14
และ มีนักเรียนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ จำ�นวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 42.86 และ เมื่อศึกษา
การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายโมเลกุลสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน ของนักเรียนรายมโนมติ
ทั้ง 6 มโนมติย่อย พบว่า มโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือมโนมติย่อย เรื่อง วัฏจักรเครบส์
คิดเป็นร้อยละ 89.52 และ มโนมติทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้
มากที่สุด คือ มโนมติย่อย เรื่อง กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน คิดเป็นร้อยละ 48.10 

The objective of this research was to study grade 10 students’ scientific understanding and conceptual
change on aerobic respiration using analogy approach Focus - Action - Reflection (FAR) guide.
The participants were thirty - five grade 10 students in the 1st semester, academic year 2013 from Nachuak
Pittayasan School, Mahasarakham province. They were selected by purposive sampling. The research
methodology was Pre - experimental Design particularly the One Group Pretest - Posttest research design.
The research instruments were 1) treatment tool: seven lesson plans on aerobic respiration using Focus
-Action - Reflection (FAR) guide (14 periods). 2) data collecting tools : Scientific test on aerobic respiration,
interviews form, classroom observation form and students’ works. Students’ conceptual understanding was
categorized into five levels of understanding and their conceptual change was analyzed in the case of each
items, person and the whole set of the test. The statistic used in this study was frequency, percentage,
mean, standard deviation, and t - test.
The results showed that:
1) In pre survey, most students (70.17%) had Alternative Conception (AC). However, in post survey,
most students (29.29%) had Partial Understanding (PU).
2) According to the students’ conceptual change on aerobic respiration, there were 15 students
(57.14%) who did not change their conceptions to scientific conceptions. In the other hand, there were 20
students (42.86%) changed their conceptions to scientific conceptions. The students’ conceptual change
in six sub - concepts showed that most students had conceptual change on the Kreb’s Cycle (89.52 %)
and a few students had conceptual change on electron transport chain (48.10%).

 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)