ผลของโปรแกรมพัฒนาการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นของนักศึกษาด้วยการให้คำปรึกษากลุ่ม

Main Article Content

สวิชญา เกียรติคีรีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งการทดลอง (Quasi–experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบ
เทียบผลของการให้คำ ปรึกษากลุ่มที่มีต่อการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นของนักศึกษา ระหว่างก่อนทดลองกับหลังทดลองของ
กลุ่มทดลองและภายหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 16 คน คัดเลือกจากผู้ที่มีจิตอาสาและสมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย
แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน โดยใช้วิธีการจับกลุ่มแบบคู่ (Matched–group Design) เพื่อให้
ได้ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นที่ใกล้เคียงกัน กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นด้วย
การให้คำ ปรึกษากลุ่ม สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที จำนวน 10 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม
พัฒนาการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นด้วยการให้คำปรึกษากลุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดการเข้าถึงจิตใจผู้อื่น (Empathy) ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 และ 2)
โปรแกรมพัฒนาการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นด้วยการให้คำปรึกษากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ The Wilcoxon
Matched Pairs Signed Ranks Test และ The Mann–Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่ม
ทดลองมีคะแนนการเข้าถึงจิตใจผู้อื่นสูงกว่าก่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The instruments using in this study were: 1) The Inventory form of Empathy, its reliability was 0.84,
and 2) The program of empathy development by group counseling. The statistic using for data analysis,
was the Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test, and the Mann–Whitney U Test. The research finding
found that: For the posttest, the experimental group had higher score of Empathy than the pretest as well
as than the control group at .05 significant level.

The research was a Quasi – experimental Research. The objective of this study was to compare the
effects of group counseling on the empathy of undergraduate students, between pretest and posttest of the
experimental group, and between the experimental group and the control group for the posttest. The Target
group was undergraduate students at the Faculty of Education, Udon Thani Rajabhat University, Udon Thani 

Province, 16 students. They volunteered to participate in the study, assigning into experimental group and
control group, 8 students each group, they were selected by Matched-group Design to obtain Mean score
of Empathy nearest. The experimental group participated in the program of empathy development by group
counseling, 2-3 times a week, 60–90 minutes each session, total of 10 sessions. The control group didn’t
participate in the program of empathy development by group counseling

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)