การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ1) วิเคราะห์/สังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้นำนักเรียน 2) พัฒนา
และตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำของผู้นำนักเรียน โดยวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 4 ตอน คือ
1)ขั้นวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้นำนักเรียน 2) ขั้นวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น 3) ขั้นร่างโปรแกรมเสริม
สร้างภาวะผู้นำ และ 4)ขั้นทดลองใช้และตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างขั้นทดลองใช้โปรแกรมเป็น
ผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 50 คน เครื่องมือที่ใช้
ในขั้นทดลองใช้ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำ แบบวัดภาวะผู้นำและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
แบบทางเดียวผลการวิจัยเป็นดังนี้คือ 1)องค์ประกอบภาวะผู้นำของผู้นำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบคือ ภาวะผู้นำด้านทักษะการทำงาน ด้านทักษะทางสังคม
ด้านบุคลิกภาพและด้านคุณธรรม 2) โปรแกรมมี 2 ส่วนคือ (1) ตัวโปรแกรม ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบได้แก่
ชื่อโปรแกรม ที่มาและความสำคัญ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย แนวคิดและทฤษฎี คำชี้แจง เนื้อหาสาระ หลักการ กิจกรรม
แนวทางการวัดและประเมินผล และแนวทางการนำโปรแกรมไปใช้และ (2) เอกสารประกอบโปรแกรม ได้แก่ คู่มือ
การใช้โปรแกรม 3) ความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ของตัวโปรแกรมและคู่มือการใช้โปรแกรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4) ผลการตรวจสอบประสิทธิผลของโปรแกรมมีรายละเอียดดังนี้คือ (1) ภาวะผู้นำของกลุ่มทดลองหลังการใช้โปรแกรม
สูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ภาวะผู้นำของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับการทดลองใช้โปรแกรมมีความ พึงพอใจของผู้
เกี่ยวข้องอยู่ในระดับมาก
The objectives of this study were to 1)analyze/synthesize components of the student leaders’ leadership,
2)develop and validate effectiveness of the program on the student leaders’leadership enhancement using
R&D method. The methodology was conducted in 4 stages including:1) analysis of components of the
student leaders’ leadership, 2) analysis of needs, 3) drafting of the program on leadership enhancement,
and 4) trial and validation effectiveness of the program. Samples consisted of the experiment group of
50 students of Don Siao Daeng School and the control group of 50 students from Udomphatthanasuksa
School. The program was applied with the experiment group but not with the control group. Tools used
were composed of the program on leadership enhancement and a form of leadership assessment. Statistics
employed included percentage, mean, standard deviation, t-test, and analysis of covariance ( One -Way
ANCOVA). The findings of this study were as follows:
1)The student leaders’ leadership at the secondary education level in the schools under the Office of the
Basic Education Commission comprised 4 components: working skills, social skills, personality of the student
leaders and morality of the student leaders. 2) The 2-part program included: 1) The program developed
by the researcher consisting of 11 components-name of the program, background and importance, objectives,
goals, ideas,theories,instructions, contents, rationale, program activities, means of measurement and evaluation,
application of the program. 2)Documents supplemented to the program - manual of the program comprising
advice for the program users. 3) The appropriateness, possibility along with the manual of the program
were at the high level in general. 4) The effects of the validation of effectiveness of the program included
the following details:(1) The leadership prior to the implementation of the program between the experiment
and control groups showed no differences. When separately considered, it was found that social skills
were different at the .05 level of significance.(2) The leadership after the implementation was higher than
that before the development, (3) When the validated variables were controlled, it was determined that the
influential variables ,under the control, before the use of the program indicated that they were higher than
those before the application of the program. The satisfaction of those concerned was at the high level.