การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงบประมาณ ในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงบประมาณในการดำเนิน
งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา 2)เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงบ
ประมาณในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมาจำแนกตามขนาด
ขององค์การบริหารส่วนตำบลตำบลรับผิดชอบและจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่องค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 160 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง
ได้มาโดยการสุ่มตามระดับชั้นแบบไม่เป็นสัดส่วนและผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
(ท้องถิ่นอำเภอ) จำนวน 3 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 3 คน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 3 คน
รวมจำนวนทั้งสิ้น 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัย พบว่า
ปัญหาการบริหารงบประมาณในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยภาพ
รวมพบว่าอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การจัดทำงบประมาณมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่
การควบคุมงบประมาณ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยตำที่สุด ได้แก่ การโอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงบประมาณในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วน
ตำบล จำแนกตามขนาดขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
.05 และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่
ด้านการโอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ และด้านการควบคุมงบประมาณ
การเปรียบเทียบปัญหาการบริหารงบประมาณในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลจำแนกตามจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่องค์การบริหารส่วนตำบลรับผิดชอบ โดยภาพรวมพบว่าไม่แตก
ต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จำนวน 1 ด้าน คือ ด้านการรายงานมีแนวทางแก้ไขดังต่อไปนี้
ด้านการจัดทำงบประมาณ ผู้บริหารท้องถิ่นควรให้บุคลากรที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเข้ารับ
การอบรมเกี่ยวกับวิธีการการจัดทำงบประมาณทางการศึกษาท้องถิ่นด้านการโอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรมีการจัดอบรมสัมมนา / ประชุมชี้แจง ให้ผู้บริหารท้องถิ่น ด้านการควบคุมงบ
ประมาณ ผู้บริหารท้องถิ่นควรให้บุคลากรผู้ที่รับผิดชอบงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับวิธีการงบ
ประมาณทางการศึกษา และด้านการรายงาน ผู้บริหารท้องถิ่นควรแนะนำให้มีการเขียนแนวทางแก้ไขปัญหาที่พบใน
แต่ละโครงการทุกครั้งในการสรุปรายงานผลดำเนินงานโครงการ
This research aimed to study problems and solutions problems of budget management of early
childhood development centers operated by Sub-district Administrative Organizations in Nakhon Ratchasima
Province and to compare problems of budget management of early childhood development centers operated
by Sub-district Administrative Organizations in Nakhon Ratchasima Province categorized according to the
size of Sub-district Administrative Organizations and the number of the early childhood development centers
under the responsibility of each organization. Research sample was derived from disproportionate stratified
random sampling from 160 Sub-district Administrative Organizations in Nakhon Ratchasima Province, and
research sample group was derived from 9 interviewees with a purposive sampling technique.
The findings showed that the problems of budget management of early childhood development centers
operated by Sub-district Administrative Organizations were generally in
a low level. Considering each particular aspect, the budgeting aspect had the highest average scores,
followed by the budget control aspect, whereas the budget transfer and revision aspect had the lowest
average scores.
Relating the comparison of problems of budget management of early childhood development centers
operated by Sub-district Administrative Organizations categorized according to the size of Sub-district
Administrative Organizations, it was found out that in general, the problems differed with a statistical significance
at the .05 level. Considering each particular aspect, the two aspects which differed with a statistical significance
at the .05 level were the budget transfer and revision aspect and the budget control aspect.
Relating the comparison of problems of budget management of early childhood development centers
operated by Sub-district Administrative Organizations categorized according to the number of the early
childhood development centers under the responsibility of each organization, it was found out that in general,
the problems did not differ with a statistical
significance at the .05 level. Considering each particular aspect, the aspect which differed with
a statistical significance at the .05 level was the report aspect.
The solutions problems of budget management follows.
Relating budgeting, local administrators should encourage the personnel in charge of the early childhood
development centers to participate in the training on the local educational budgeting. Relating the budget
transfer and revision, Department of Local Administration should hold seminars/briefing meetings to ensure
the local administrators’. Relating the budget control, local administrators should encourage the personnel
in charge of the early childhood development centers to participate in the training on local educational
budgeting methods. Relating the report, during the conclusion report procedure of the project execution, local
administrators should suggest about the regular written report on guideline solutions found in each project