การพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

Main Article Content

เทพรังสรรค์ จันทรังษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบที่เหมาะสมกับการพัฒนาภาวะผู้นำครู และดัชนีชี้
วัดความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร 2) เพื่อศึกษา
และร่วมกันกำหนดทางเลือกการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร
3) ศึกษาผลการพัฒนาภาวะผู้นำครูโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร และการเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
จากกระบวนการวิจัยของผู้ร่วมวิจัย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้วิจัย 1 คน ซึ่งเป็นผู้อำนวย
การโรงเรียนและผู้ร่วมวิจัย 22 คน คือ รองผู้อำนวยการ 4 คน หวั หน้ากล่มุ งาน 4 คน หวั หนา้ สายชัน้ 7 คน ครวู ชิ าการ
สายชั้น 7 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครู 73 คนวิธีดำเนินการวิจัย ใช้กรอบความคิดขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย
เชิงปฏิบัติการของ Kemmis & Mc Taggart. (1988) ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นวางแผน (Planning) 2) ขั้นลงมือ
ปฏิบัติตามแผน (Action) 3) ขั้นสังเกตการณ์ (Observation) และ 4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflection) ซึ่งเป็น
กระบวนการที่เป็นพลวัต (Dynamic Process) ของเกลียวปฏิสัมพันธ์ที่มีกระบวนการย้อนกลับ และนำไปสู่การ
พัฒนาขั้นต่อไป (Back and Forth) จากผลสะท้อนของสิ่งที่เป็นปัญหา การเก็บรวบรวมข้อมูลและการปฏิบัติ
ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครู และดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล
ของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร มี 7 องค์ประกอบ คือ ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การเป็นผู้นำ
การเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานอยา่งไตรต่รอง การมุ่งพัฒนาผู้เรียนการเป็นผู้มีบุคลกิภาพดีการสรา้งสัมพันธภาพทีดี่
มีดัชนีชี้วัด จำนวน 117 ตัวชี้วัด
2. ทางเลือกการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร ประกอบด้วย
18 วิธีการ คือ 1) จัดบรรยากาศในห้องเรียนและนอกห้องเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ 2) จัดทำและจัดหาสื่อการเรียน
การสอน 3) ประชุมระดมความคิดและกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน 4) ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการ
สอน 5) ส่งเสริมความเป็นครูมืออาชีพ 6) ส่งเสริมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 7) ส่งเสริมการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
8) ส่งเสริมการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง 9) ส่งเสริมการมุ่งพัฒนาผู้เรียน 10) ส่งเสริมการเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี 11) ส่งเสริมการ
สร้างสัมพันธภาพที่ดี 12) จัดทำคู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล 13) ประชุมกลุ่มย่อยแลกเปลี่ยนเรียน
รู้ 14) จัดประชุมภายในโรงเรียนอย่างเป็นทางการ 15) อบรมเชิงปฏิบัติการภาวะผู้นำครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล 16) การวัด
และประเมินผล 17) การเชิดชูเกียรติยกย่องให้รางวัล 18) การศึกษาดูงาน Best practice สถานศึกษาต้นแบบ
3. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำครูโรงเรียนมาตรฐานสากล ของโรงเรียนอนุบาลสกลนคร และการเรียนรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
จากกระบวนการวิจัยของผู้ร่วมวิจัย คือ การใช้ภาวะผู้นำครู คือ มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
มีการปฏิบัติงานอย่างไตร่ตรอง มีการมุ่งพัฒนาผู้เรียน เป็นผู้มีบุคลิกภาพดี มีการสร้างสัมพันธภาพที่ดี การใช้ภาวะผู้นำของ
ผู้วิจัยมี 3 ลักษณะ เป็นผู้บริหาร เป็นผู้ระดมสรรพกำลังและทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ในการวิจัย
ให้โอกาสผู้ร่วมวิจัยซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนา ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของตนเอง เป็นการร่วม
คดิ รว่ มทำและเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเริ่มจากส่วนน้อยจนถึงการมีส่วนร่วมแบบเต็มรูปแบบ โครงการพัฒนาที่ใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ มีลักษณะของการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่ทำให้ผู้รับประโยชน์ (ผู้ร่วมวิจัย) สามารถที่จะรับผิดชอบ
ในการแก้ไขปัญหาของตนเอง และพัฒนาตนเอง ตลอดจนพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ

This study aimed to 1) investigate the suitable components in developing the teachers’ leadership
and success indexes in the development of the teachers’ leadership in the World-Class Standard School
of Anuban Sakon Nakhon School, 2) identify and designate the development of the teachers’ leadership
in the World-Class-standard school at Anuban Sakon Nakhon School, and 3) explore the effects of the
development of the teachers’ leadership in the World-Class -standard school of Anuban Sakon Nakhon School
along with new knowledge obtained from the research procedure of the co-researchers. The target group
consisted of the researcher as the school director, 4 heads of learning substances, 7 heads of educational
levels, 7 heads of academic affairs of educational levels. The informants comprised 73 teachers. The research
methodology employed included the concept framework of steps in conducting an action research of Kemmis
& Mc Taggart (1988) comprising: planning, action, observation and reflection. The dynamic process of interactice
spirals with the reflection procedure leading to the back and forth process of the feedbacks of what becoming
problems, data collection as well as performance was used respectively.

The findings of this study were as follows:
1. The components of the development of the teachers’ leadership in the World-Class-standard
school at Anuban Sakon Nakhon School were composed of : professionalism, efficient communications,
concern for improving learners’ achievements, obtaining good personality, and good relationship with
117 indicators.
2. The alternatives of the teachers’ leadership in the World-Class-standard school of Anuban Sakon
Nakhon School comprised: 1) building classroom atmosphere, 2) making and providing instructional
materials, 3) brainstorming and setting up shared vision, 4) promotion of doing research for the instructional
quality development, 5 ) promotion of professional teachers, 6) fostering efficient communications, 7) promotion
of transformational leadership,8) fostering reflective practice, 9) promotion of concern for improving learners’
achievements, 10) Fostering good personality, 11) promotion of good relationship, 12) making a handbook/manual
on the teachers’ leadership in Anuban Sakon Nakhon School, 13) meetings of mini-groups and exchange of
knowledge, 14) official school meetings, 15) workshops on teachers’ leadership in Anuban Sakon Nakhon School,
16) measurement and evaluation, 17) praising and rewarding and 18) study tours.
3. The effects of the teachers’ leadership development in the World-Class-standard school of Anuban
Sakon Nakhon School as well as the new knowledge obtained from the research procedure included:
implementation of teachers’ leadership, obtaining efficient communications, transformational leadership,
reflective practice, personality, and good relationship. The implementation of the reasercher’s leadership
consisted of 3 characteristics a teacher, a school administrator and a mobilizer who managed manpower
and resources to be utilized in this study. The researcher provided opportunities for the co-researchers in
participating in the development project as the beneficiaries to develop themselves in forms of shared thinking,
shared actions and shared learning beginning with a small group up to full participation. The development
project applied in this study could be seen in terms of learning process application making the beneficiaries
(co-researchers) able to be responsible for their problem solution along with self-development as well as
the development of the learners with efficiency.

 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)