การวิจัยในชั้นเรียน : เจตนารมณ์ที่เปลี่ยนไป

Main Article Content

สมพงษ์ พันธุรัตน์

บทคัดย่อ

     บทนำ : เจตนารมณ์ของการทำาวิจัยในชั้นเรียน ก่อนที่จะมีการปฏิรูปการศึกษา ประเวศ วะสี (2544 : 3) ได้กล่าวถึง สภาพปัญหาการจัดการศึกษาในขณะนั้นพบว่ามีปัญหาใน 4 ด้านคือ 1) สภาพด้านระบบบริหารและการจัดการนั้นเป็นแบบรวมศูนย์อำานาจไว้ ในส่วนกลางนั้นขาดเอกภาพ ขาดความต่อเนื่องในนโยบาย 2) ด้านคุณภาพของการจัดการศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำา 3) ด้านหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผลหลักสูตรนั้นยังไม่สามารถสนองความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลาย การเรียนการสอนเน้นครู เป็นศูนย์กลาง และ 4) ด้านครูและบุคลากรพบว่า บางส่วนยังขาดความรู้ความสามารถ ทักษะในการจัดการเรียนการสอน ขาดจิตสำานึกและจิตวิญญาณของความเป็นคร

      ดังนั้นเพื่อเป็นการปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษาของประเทศ ประเวศ วะสี (2544 : 4) จึงให้การศึกษาเป็นการศึกษาสำาหรับคนทั้งมวล อย่างทั่วถึงโดยมีลักษณะที่ยืดหยุ่นหลากหลาย เหมาะสมกับคนทุกกลุ่ม ให้ทุกส่วนในสังคมได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา รวมถึงปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ให้มีกระบวนการเรียนที่ง่าย สนุก และพัฒนาคนได้เต็มตามศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การเมืองและสุขภาพไปพร้อมกัน โดยมีการสร้างระบบส่งเสริมวิชาชีพครู ปฏิรูประบบบริหารจัดการการศึกษา ให้มีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพในการจัดการและตรวจสอบให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษา จากนั้นจึงได้มีการกำาหนดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขึ้นใหม่ ดังที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 30 กำาหนดไว้ว่า ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (สำานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน, 2547 : 16)

      มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ มาตรฐานที่ 10 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำาคัญ และในตัวบ่งชี้ที่ 10.7 กำาหนดให้ครู มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำาผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน (สำานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (2549 : 13)

      จาก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของกระทรวงศึกษาธิการ ดังกล่าวชี้ ให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของการกำาหนดให้ครูทำาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำาผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน เป็นสำาคัญ

Article Details

บท
บทความปริทัศน์ (Review Article)