ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครู ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ การสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

พิมพ์วลัญช์ นันทัยทวีกุล
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และระดับพฤติกรรมการสอน ของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพ การสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ ของผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมการสอนของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 483 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS For Window version 11.5 เพื่อหาค่าสถิติเชิงบรรยาย และใช้สถิติเชิงอ้างอิง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับ ลดหลั่น 2 ระดับ ระดับที่ 1 คือระดับครู ระดับที่ 2 คือ ระดับผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้โปรแกรม HLM For Window version 6.03

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับพฤติกรรมการสอนของครู และระดับประสิทธิภาพการสอน ของครู โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

2. ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และระดับพฤติกรรมการสอนของครูมีความสัมพันธ์กันกับ ระดับประสิทธิภาพการสอนของครู ทุกปัจจัยมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ระดับพฤติกรรมการสอนของครูทุกตัวแปรส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพการสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรต้นระดับพฤติกรรมการสอนของครูสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของระดับ ประสิทธิภาพการสอนของครูได้ร้อยละ 87.01 ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อระดับประสิทธิภาพ การสอนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ได้แก่ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และด้านการ ให้รางวัลตามสถานการณ์ ทั้งนี้ตัวแปรต้นระดับภาวะผู้นำ ของผู้บริหารสถานศึกษาสามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของระดับประสิทธิภาพการสอนของครูได้ร้อยละ 81.76

 

School Leadership and Teaching Behaviors of Teachers Affecting Teaching Efficiency in Schools under the Office of Khon Kaen Educational Service Area 5

Pimwarun Nunthaitaweekul and Thanomwan Prasertcharoensuk

Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University, Khon kaen, Thailand, 40002

Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University

The research aimed to 1) investigate the school leadership factors level and the teaching behavior factors level in schools under The Office of Khon Kaen Educational Service Area 5, 2) investigate the Teaching Efficiency factors level in schools under The Office of Khon Kaen Educational Service Area 5, 3) investigate the School Leadership and teaching behaviors of teachers Affecting Teaching Efficiency in schools under The Office of Khon Kaen Educational Service Area 5. Sampling group, selected by method of multi-stage sampling, consisted of 483 persons. Research instrument was a questionnaire. Statistical data was analyzed using the program of SPSS for Window version 11.5 in order to search for value of descriptive statistic and inferential statistic used for analyzing Hierarchical Linear and Nonlinear Modeling version 6.03.

Research findings found that:

1. all aspects of school leadership level, teachers’ teaching behavior of teacher level, and teaching efficiency of teachers level could have mean at a high level.

2. school leadership level and teaching behavior level were positively correlated with teaching efficiency of teachers with statistical significance at the level of 0.01 for all factors.

3. teaching behavior of teachers affecting the teaching efficiency of teachers with statistical significance at the level of 0.01 for all variables. Independent variables of teaching behavior of teachers could be used for explaining the teaching efficiency of teachers variance at 87.01 %. school Leadership affecting the teaching efficiency of teachers with statistical significance at the level of 0.01 and 0.05. as follows; intellectual stimulation and contingent rewards could be used for explaining the teaching efficiency of teachers variance at 81.76%.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)