การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนบ้านนาคานหักประชานุสรณ์ สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบร่วม มือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน บ้านนาคานหักประชานุสรณ์ จำนวน 12 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูและผู้เรียน แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้าย วงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหามีรูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ และการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่เน้นการ แก้ปัญหาแบบ SSCS มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนทบทวนความ รู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้และทราบถึงจุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ในชั่วโมงนี้โดยใช้ แถบจุดประสงค์ และแถบโจทย์ปัญหา 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น (ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS) เป็นขั้นที่ผู้วิจัยนำเสนอองค์ ความรู้ โดยให้ผู้เรียนแก้ปัญหาสถานการณ์ที่มีความท้าทาย สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนเน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS 3) ขั้นสรุปเป็นขั้นที่ผู้เรียนทั้งชั้นสรุปองค์ความรู้ที่เรียนในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน 4) ขั้นการศึกษา กลุ่มย่อย (ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS) เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนศึกษาและแก้ปัญหาสถานการณ์ที่ท้าทายสอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน โดยใช้องค์ความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการแก้ปัญหาตามลำดับขั้นตอนที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS 5) ขั้นฝึกทักษะเป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกทักษะเป็นรายบุคคลเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในแต่ละ แผนการจัดการเรียนรู้และฝึกทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน 6) ขั้นการทดสอบย่อย เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนได้รับการทดสอบย่อย เมื่อสิ้นสุดแต่ละวงจรปฏิบัติการ ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบตามความสามารถของตนเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ในเนื้อหาและความสามารถในการแก้ปัญหา 7) ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้า เป็นขั้นที่นำคะแนนที่ได้จากการ เปรียบเทียบคะแนนที่สอบได้กับคะแนนฐาน 8) ขั้นยกย่องกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ เป็นขั้นที่กลุ่มจะได้รับรางวัลหรือ ได้รับคำชื่นชม จากเพื่อนๆสมาชิกในชั้นเรียนเมื่อคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเกินกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.73 และมีจำนวนผู้เรียน คิดเป็น ร้อยละ 77.78 ของจำนวนผู้เรียนทั้งหมดซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3) ผู้เรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นตอน และจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ตอนที่ 2 ที่วัดความสามารถในการแก้ปัญหา ผู้เรียนได้คะแนนคิดเป็นเป็นร้อยละ 87.65 และเมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นการ แก้ปัญหาแบบ SSCS พบว่า ในขั้นการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Search: S) ขั้นการวางแผนและดำเนินการ แก้ปัญหา (Solve: S) ขั้นการสร้างวิธีการหรือหาคำตอบ (Create: C) และขั้นการร่วมแสดงความคิดเห็นต่อวิธีการ แก้ปัญหาและการหาคำตอบ (Share: S) มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.74, 87.04, 84.57 และ 88.27 ตามลำดับ
The Development of Mathematics Learning Activities Based on STAD Cooperative Learning Model Emphasizing SSCS Problem Solving on Pythagoras’ Theorem for Matthayomsuksa 2
Chuthamart Hongkham, Kuajit Chimtim and Jeamsak Trisirirat
Department of curriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon Kaen University,
Associate Professor, curriculum and instruction, Faculty of Educational, Khon kaen University, Khon Kaen , Thailand, 40002
Assitant Professor, Department of Mathematics Education , Faculty of Educational, Khon kaen University, Khon Kaen , Thailand, 40002
The purposes of this research were 1) to develop Mathematics learning activities based on STAD cooperative learning Model emphasizing SSCS problem solving on Pythagoras’Theorem for Matthayomsuksa 2 2) to develop students’ mathematics learning achievement on Pythagoras’ Theorem for Matthayomsuksa 2 to have scores at least 70% and at least 70% of all students have the scores 70% up and 3) to study Matthayomsuksa 2’ mathematic problem solving abilities.
The target group of this research was 27 Matthayomsuksa 2/1 students who studied during the second semester of 2013 academic year at Bannakhanhakprachanusorn School, Chaiyaphum province, under Chaiyaphum Primary Educational Service Area Office 1. The instruments applied in this research consisted of 1) Experimental instrument: 12 mathematic lesson plans based on STAD cooperative learning model emphasizing SSCS problem solving on Pythagoras’ Theorem for Bannakhanhakprachanusorn School Matthayomsuksa 2 students. 2) reflection instruments: observation form of the teacher and the students the Learning Behavior. the record form for recording the results in using lesson Plans and the end-of-spiral quizzes. 3) evaluation instrument for efficiency of learning management model: an achievement test on Pythagoras’ Theorem for Matthayomsuksa 2 and problem solving abilities test. The design of this research was an Action Research including 3 action cycles. Data were analyzed by were average score, Percentage, and descriptive form.
The findings
1. The development of mathematics learning activities based on STAD cooperative learning model emphasizing SSCS problem solving on Pythagoras’ Theorem. There were 1) introduction: the researcher informed students to review previous knowledge and presents objectives for this class by the objective card and mathematics problem card. 2) Presentation (emphasizing SSCS problem solving) : The researcher presented the knowledge by students solved challenged problem situation based on SSCS. 3) Conclusion: summarized the knowledge each plans in descriptive form. 4) Subgroup study (emphasizing SSCS problem solving) : The students studied and provided the situation problems by problem solving step by step, based on SSCS to enhance students solving abilities. 5) Practice : students were individually do the practice to check understanding in each lesson plans. 6) Subtest : the end-ofspiral quizzes after finishing the study of each action cycles without any help from anyone to check understanding and check problem solving abilities. 7) Progress scoring : it was the scores in which getting from the comparison between test score and standard score of students. 8) Best group scoring : any group could be rewarded when their average score was found higher than the criterion.
2. The students’ average score of learning achievement was 76.73% and 77.78% all of students had higher score of learning achievement than the criterion.
3. The average scores of problem solving abilities test were 87.65% and the average score in the stages of Search, Solve, Create, and Share were 90.74%, 87.04%, 84.57% and 88.27% respectively.