รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ยุทธนา อุทโธ
ปรีชา คัมภีรปกรณ์
ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างรูปแบบการ พัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถมศึกษา 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะ ผู้นำเชิ งจิ ตสาธารณะของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถมศึกษาที่สร้างขึ้นโดยการทดลองใช้ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา มีการดำเนินการ ดังนี้ ระยะที่1 ศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ และระยะที่ 4 การสรุปรูปแบบ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มี 3 องค์ประกอบหลัก 7 องค์ประกอบย่อย คือ 1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงจิตสาธารณะ ได้แก่ รู้ถึงสิทธิและหน้าที่และรู้ทั นการเปลี่ยนแปลง 2) มีความคิดเชิงจิตสาธารณะ ได้แก่มีการตัดสินใจเชิงจริยธรรมและรู้ผลแห่งการกระทำ 3) มีการปฏิบัติตนเชิงจิตสาธารณะ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติ การถือเป็นหน้าที่ต้องปฏิบัติ และการเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวม

2. ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะ ของคณะกรรมการสภานักเรียนระดับประถม ศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า รูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบ จุดมุ่งหมายของรูปแบบการพัฒนา เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบการพัฒนา และการวัดผลประเมินผล มีกระบวนการพัฒนาอยู่ 3 ช่วง คือ ช่วงก่อน ปฏิบัติการ ช่วงปฏิบัติการ และช่วงหลังปฏิบัติการ ซึ่งผลการประเมินและยืนยัน ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ของรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะที่สร้างขึ้น โดยการทดลองใช้ มีดังนี้ 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบที่สร้างขึ้น เท่ากับ 89.44/84.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบความ แตกต่างของการประเมินพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงจิตสาธารณะของกลุ่มตัวอย่าง หลังการพัฒนาสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย การประเมินก่อนพัฒนา โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้าเท่ากับ 68.92

 

A Model For Developing Public Mind Leadership of Primary School Student Committee Under The Office of The Basic Education Commission in The Northeastern Region

Yuttana Uttho1) Dr. Preecha Kampirapakorn2) Dr. Sikarn Pienthunyakorn3) and Dr. Vijittra Vonganusith4)

1) Department of Leadership in Educational Administration, Sakon Nakhon Rajabhat University

2) Associate Professor, Department of Educational Administration and Leadership, Sakon Nakhon Rajabhat University

3) Assistant Professor, Department of Educational Administration and Leadership, Sakon Nakhon Rajabhat University

4) Assistant Professor, Department of Educational Administration and Leadership, Sakon Nakhon Rajabhat University

The purposes of this research were 1) to examine the components of leadership on public mind for primary school student committee under the Office of the Basic Education Commission in the Northeastern region, 2) to develop the model for developing leadership on public mind of primary school student committee, and 3) evaluate the proposed model. This research employed Research and Development approach which was performed into four phases: Phase I was related to a preliminary study and survey. Phase II was related to a model. Phase III was related to a model. Phase IV was a model conclusion.

The findings were as follows:

1. The components of leadership on public mind for primary school student committee under the Office of the Basic Education Commission in the Northeastern region involved three major components, seven subcomponents and twenty-seven indicators. The found components were: 1) Public Mind Knowledge and Understandings involving individual rights and responsibilities, and awareness of changes; 2) Public Mind Thinking involving moral judgment, and knowing the consequences of a cause of individual action; 3) Public Mind Practices involving practice avoidance, moral obligation, and respect others’ right of using public facilities.

2. The results from the construction of the proposed model revealed that the model consisted of rationale and the basic idea, objectives, contents, procedures, measurement and evaluation. The three-stage leadership development process involved: Stage I Pre-training workshop, Stage II Actual practice, Stage III Post-training workshop. The efficiency of the proposed model, assessed by the qualified persons, as a whole was at the highest level of appropriateness and feasibility. When considering in each aspect, it was found that all aspects were at the highest level.

3. After the four-phase implementation, the results revealed that 1) the efficiency of the developed model was at 89.44/84.47 which was higher than the set criteria, 2) From the behavior assessment, the participatingstudents reported that the post-intervention mean scores of leadership on public mind were higher than the pre-training workshop mean scores with a progressive percentage of 68.92.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)