ภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู ในสถานศึกษาสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

บรรพต รู้เจนทร์
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตาม ขนาดสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะครู จำแนกตามขนาด สถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสี มา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำทางการเรียน การสอนของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (4) เพื่อ ศึกษาภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหาร สถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดองค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง เป็น ครู ในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 322 คนที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Sampie Random Sampling) เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scaie) มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.96 ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน (Standrard Deviation) ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Correlation coefficient of Pearson) และค่าสัมประสิทธิ์สมการถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน โดยด้านที่มากที่สุดคือ ด้านการกำหนดและ สื่อสารวิสัยทัศน์ เป้าหมายและพันธกิจการเรียนรู้ และน้อยที่สุด คือด้านการนิเทศและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ส่วนสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด นครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มาก ที่สุดคือ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และน้อยที่สุดคือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการจัดการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา(X) มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (Y) ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการวิเคราะห์ สมการถดถอยพหุคูณมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.706 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายร้อยละ 49.8 ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของภาวะผู้นำทางการเรียนการสอนในแต่ละด้านที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู มากที่สุดคือ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (X2) ด้านการนิเทศและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (X5) ด้านการสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (X6) การพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ (X3) ตามลำดับ

โดยสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ด้วยวิธี Stepwise ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Unstandardized score)

i= 1.805 + .152(X2) + .163(X5) + .144(X6) + .111(X3)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized score)

y= .235(Zx2) + .264(Zx5) + .208(Zx6) + .170(Zx3)

 

Instructional Leadership of School Administrators Affecting Teacher Competency in The School Under The Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization

Banphot Roojane1) and Dr. Wallapha Ariratana2)

1)Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University

2)Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University

The objectives of this research were: (1) to study the School Administrators’ Instructional Leadership Classified by size of school under jurisdiction of Nakonrachasima Provincial Administrative Organization, (2) to study Teacher Competency Classified by size of school under jurisdiction of Nakonrachasima Provincial Administrative Organization, (3) to study relationship of the School Administrators’ Instructional Leadership, and Teacher Competency in Schools under jurisdiction of Nakonrachasima Provincial Administrative Organization, (4) to study the School Administrators’ Instructional Leadership affecting the Teacher Competency in Schools under jurisdiction of Nakonrachasima Provincial Administrative Organization. The research design was descriptive research. The samples were 322 teachers. under jurisdiction of Nakonrachasima Provincial Administrative Organization. Obtained by simple random sampling. The research instrument was Rating Scale . Reliability was 0.967. Researcher Self Storage. The statistics used in data analysis were Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson’s Coefficient Correlation, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The research findings found that the School Administrators under jurisdiction of Nakonbrachasima Provincial Administrative Organization, obtained their Instructional Leadership in “High” level. Considering each aspect, found that every aspect was in “High” level. The aspect with highest level of average value, was the Determination and Communication of Vision, Goal, and Mission of Learning. The aspect with lowest level of average value, was the Supervision and assessment of Knowledge Management. For Teacher Competency, found that in overall, was in “High” level. Considering each aspect, found that every aspect was in “High” level. The aspect with highest level of average value, was the Ethic, Morality, and Code of Ethics. The aspect with lowest level of average value, was the Application of Technology and Innovation for Learning.

For relationship between the School Administrators’ Instructional Leadership in Schools under jurisdiction of Nakonrachasima Provincial Administrative Organization (X), there was positive with Teacher Competency in Schools under jurisdiction of Nakonrachasima Provincial Administrative Organization (Y) in “Medium” level ai 0.01 significant level. For analysis findings of Multiple Regression, the Multiple Correlation was = 0.706, Predictive Coefficient = 49.8%, Regression Coefficient of Instructional Leadership affecting each aspect of Teacher Competency in the highest level, consisted of the Management courses and teaching. (X2), the supervision and assessment of learning. (X5), the Creating an atmosphere and culture that is conducive to learning. (X6), and the Teacher development as professional teachers. (X3) respectively.

The Predictive Equation could be constructed in Unstandardized Score, and Standardized Score by Stepwise technique as follows:

The Predictive Equation in Unstandardized score:

i = 1.805 + .152(X2) + .163(X5) + .144(X6) + .111(X3)

The Predictive Equation in Standardized score:

y = .235(Zx2) + .264(Zx5) + .208(Zx6) + .170(Zx3)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)