ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนขนาดเล็ก : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังโพน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

ศิริวรรณ เสนาวงษ์
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบ้านวังโพน 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบ้านวังโพน เป็นการวิจัยแบบกรณี ศึกษา (Case Study Approach) โดยศึกษากรณีของโรงเรียนบ้านวังโพน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในด้าน ความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชน เป็นการศึกษาแบบมุ่งหาคำอธิบาย ปรากฏการณ์ โดยแบ่งการดำเนินการ วิจัยออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกต เพื่อศึกษาสภาพ การความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบ้านวังโพน และระยะที่ 2 เป็นการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และเสนอแนวทางการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของ ผู้ปกครองและชุมชน

ผลการวิจัยมีดังนี้

1. สภาพความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบ้านวังโพน มีสภาพความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนโดยภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการทำงานเป็นอาสาสมัคร รองลงมา คือ ด้านการทำงานร่วมกับชุมชน ส่วนด้านที่มีค่าระดับปฏิบัติลำดับสุดท้ายคือ ด้านการตัดสินใจ

2. แนวทางในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนของผู้ปกครองและชุมชนของโรงเรียนบ้านวังโพน

2.1) ด้านการเป็นผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชนควรสร้างเครือข่ายผู้ปกครอง เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือ นักเรียนร่วมกัน ทั้งงานวิชาการ ทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ตามความถนัดของผู้ปกครองแต่ละคน 2.2) ด้านการสื่อสาร โรงเรียนควรมีช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายกับผู้ปกครองและในการสื่อสาร อาทิ สื่อสารโดยใช้นักเรียนพร้อมหนังสือ มีจดหมายข่าว จัดทำป้ายนิเทศของโรงเรียนประจำหมู่บ้านการประชาสัมพันธ์ ฝึกนักเรียนให้เป็นผู้ประกาศข่าวประจำหมู่บ้าน 2.3) ด้านการทำงานเป็นอาสาสมัคร โรงเรียนควรจัดทำข้อมูลของชุมชนอย่างเป็นระบบ ในเรื่องอาชีพ ความ สามารถ ภูมิปัญญาของคนในชุมชน และแต่งตั้งครูภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเป็นการยกย่องให้เกียรติผู้ที่มาทำงานและเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน 2.4) ด้านการเรียนรู้ที่บ้านครูและผู้ปกครองวางแผนพัฒนาผู้เรียน ร่วมกันออกเยี่ยมบ้านทุกเดือนและจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่บ้านและทำบันทึกติดตามผู้เรียนอยู่เสมอ 2.5)ด้านการตัดสินใจ โรงเรียนควรให้ความรู้ในเรื่องระเบียบและแนวทางปฏิบัติในทางราชการให้กับผู้ปกรองและชุมชน เพื่อประกอบการตัดสินใจโรงเรียนและควรให้อำนาจการตัดสินใจแก่องค์กรพิเศษที่จัดตั้งขึ้น และ 2.6) ด้านการทำงาน ร่วมกับชุมชน โรงเรียนต้องสร้างความตระหนักให้กับผู้ปกครองและชุมชนในเรื่องการสร้างแหล่งเรียนรู้ให้เด็ก เพราะ การเรียนรู้ของเด็กนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในชุมชน การมีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจนจะช่วยสร้างความเข้าใจที่ดี ร่วมกัน และควรจัดตั้งองค์กรผู้ปกครอง ศิษย์เก่าอย่างเป็นระบบและจริงจัง เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกับชุมชนเกิด ประสิทธิภาพมากขึ้น

 

Parents and Community Partnership in Small-Sized School : A Case Study of Banwangpon School Under the Office of Khon Kaen Primary Educational Service Area 1

Siriwan Senawong1) and Dr. Thanomwan Presertcharoensuk2)

1) Department of Educational Administration, Faculty of Educational, KhonKaen University

2) Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Education, KhonKaen University

The purposes of this study were 1) to study the condition of parents and community partnership of Ban¬wangpon School 2) to be the guideline of parents and community partnership development in Banwangpon School. This research was a Case Study Approach. There was 2 phases of the study. Phase 1 was the survey by using survey questionnaires, interview questionnaires, and observation form in order to study the condition of parents and community partnership in Banwangpon School. Phase 2 was Focus Group Discussion to explain the current phenomena and present the guideline of parents and community part¬nership development.

The results were as follows;

1. The condition of parents and community partnership of Banwangpon School showed that the overall and all aspects were at “Often” level. The highest mean was working as volunteer aspect followed by working with community aspect. And the lowest mean was decision making aspect.

2. The guidelines for parents and community partnership in Banwangpon School as followers; 2.1) Parents aspect: School and community should build on the parent network in order to take care of students in term academic, career skill and life skill base on parent in community expertise. 2.2) Communication aspect: School should provide various of communication methods with parent for instant communicate to parents by students’ document, school’s news, notice in community and letting students do the village’s reporter. 2.3) Working as volunteer aspect: School should do the community information in term of careers, ability, local people wisdom, and promote local wisdom teacher in order to be honor for them. 2.4) Learning at home aspect: Teachers and parents should do students’ development plan together and go visiting students at homes every month. 2.5) Decision making aspect: School provide knowledge of the government rules to parents and community in order to help them make some decisions about school and also school should empower the special organization. and 2.6) Working with community: School should help parents and community emphasize to students’ learning. School should have clearly work plan together and should set up parent organization and alumni association to enhance the effective working with community.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)