ทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLS ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

Main Article Content

วาริษา ประเสริฐทรง
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLSของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLSของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ในปีการศึกษา 2556 จำนวน 477 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสองระยะคือ ระยะที่หนึ่ง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าสถิติคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่สองเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนา กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือคู่มือประกอบการสนทนากลุ่ม เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLSของผู้บริหารสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำเสนอเป็นความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. ทักษะภาวะผู้นำด้าน SOFT SKILLS ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก ซึ่งด้านการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านการสื่อสารและนำเสนอ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

2. แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำด้าน Soft Skills มีแนวทางการดำเนินงาน 5 ด้านดังต่อไปนี้คือ

1) ด้านการพัฒนาบุคลากร ได้แก่ การพัฒนาผู้บริหารและครูเกี่ยวกับทักษะด้าน Soft Skills ในการปฏิบัติ งานและภาษาอังกฤษเพื่อพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและพัฒนาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยกระบวน การฝึกอบรม การนำระบบกำกับติดตามและช่วยเหลือ ครูและบุคลากรมาสนับสนุนสร้างนวัตกรรม การสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้และการนำระบบกำกับติดตามและช่วยเหลือ ครูและบุคลากรมาสนับสนุนสร้างนวัตกรรม 2) ด้านการ บริหารจัดการ ได้แก่ การส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหาร การเรียนการสอน และนำเสนอสารสนเทศต่อที่ประชุม การการกำกับติดตามและประเมินกลยุทธ์การทำงานของครู การส่งเสริมการทำวิจัยแบบมืออาชีพ และการสร้างค่านิยมร่วมการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจเป็นทีม 3) ด้านการวางแผนกลยุทธ์ ได้แก่ การระดมทรัพยากรเพื่อจัดหาและพัฒนาอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี ร่วมกับชุมชน การแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบเน้นใช้ข้อมูลสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการใช้หลักธร รมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษา 4) ด้านการสร้างขวัญกำลังใจ ได้แก่ การเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตร และลดความขัดแย้ง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรในสถานศึกษา ยกย่องและให้เกียรติผู้ร่วมงาน รวม ทั้งผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง 5) ด้านการกำกับติดตาม ได้แก่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและ พฤติกรรมครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน การสร้างค่านิยมร่วมองค์กรที่เน้นการทำงานแบบ ร่วมแรงร่วมใจเป็นทีม การกำกับ ติดตามและ ประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งการส่งเสริมระบบพี่เลี้ยง และการนิเทศ ติดตาม

 

Leadership Soft Skills of The Administrators Under The Office of Secondary Educational Service Area 25.

Warisa Prasoetsong1) and Dr.Wallapha Ariratana2)

1) Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon Kaen University.

2) Associate Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon Kaen University.

The objective of this research were : 1) to study level of the leadership soft skills of educational administra¬tors, 2) to study guiding of development the leadership soft skills of executive schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25. The population were administrators and teachers in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 25 in the year 2013 a total of 3,583 and the total samples were 477 persons. The research were divided into two phases. The first phase of quantitative data collection, The instrument used was a questionnaire features a five-level scale, with the statistical data analysis were percentage, mean and standard deviation. The second phase of qualitative data collected by the focus group discussion. Used in this guide the group discussion, to study the development of the leadership skills of school administrators soft skills. The content analysis is used by analysis and then presented as an essay.

The research findings found that.

1. The leadership soft skills of school administrators found that the overall average level. The highest average is relationship skills . And the lowest average is communication and presentation skills.

2. Guide the development of leadership soft skills should be performed in each of the following.

1) Aspects of development , including the development of administrators and teachers about the skills, Soft Skills and English for the operation and development of the ASEAN community and the use of information technology. The training process implementation , monitoring and support (Mentoring & Coaching) teachers and staff to support innovation. Creating Communities of Learning (Learning Community) and system monitoring and support (Mentoring & Coaching) teachers and staff to support innovation. 2) Aspects of management , including the promotion of educational administrators . Teachers and the technology used in the administration. Teaching and communicating the information to the meeting. The monitoring and evaluation strategies work of teachers. Promoting research professionals. and creating shared values working as a team efforts . 3) Areas including strategic planning, resource mobilization and development of equipment and technology to provide solutions with the community on a systematic use of information . Creating an atmosphere of academic exchange and learning. And the principles of good governance in the management of educational institutions. 4) The build morale and strengthen the atmosphere of friendliness and reduce conflict. Building good relations between people in schools. Praise and honor colleagues. Including the management must be exemplary in their own development . 5) Further monitoring, including changing attitudes and behaviors regarding the use of information technology in teacher practice. The values joining an organization that focuses on team work , collaboration , monitoring and evaluation of performance. Including promoting mentoring system and supervision.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)